แนวคิดเกี่ยวกับการวัดและข้อมูล

แนวคิดเกี่ยวกับการวัดและข้อมูล

ในการวิจัยจำเป็นจะต้องใช้ข้อมูลควบคู่ไปกับแนวคิด  โดยการเชื่องโยงแนวคิดเข้ากับข้อมูล   ข้อมูลจึงเป็นสิ่งที่วัดได้  สิ่งที่นักวิจัยจะต้องทำความเข้าใจก็คือ 

 

แนวคิดในการวัด

  • การวัด (Measurement) คือ กระบวนการที่ระบุความแตกต่างของคุณสมบัติของหน่วยวิเคราะห์ว่ามีความแตกต่างกันหรือไม่ แตกต่างกันในลักษณะใด  และมากน้อยเพียงใด
  • เงื่อนไขสำคัญในการวัดตัวแปรมี ๒ ประการ คือ
    • นิยามตัวแปรหรือสิ่งที่ต้องการจะวัดให้ชัดเจน
    • มีมาตราและหน่วยที่ใช้วัด (Unit of measurement)
  • การวัดในเชิงคุณลักษณะ (Qualitative measurement)    การวัดคุณภาพหรือกายภาพที่แสดงลักษณะของปรากฏการณ์ที่สังเกต เช่น  ร้อน – เย็น, ดี – ไม่ดี, หนัก – เบา เป็นต้น   การวัดในลักษณะนี้จึงเป็นการวัดในเชิงเปรียบเทียบ  เพื่อแยกระดับของตัวแปรให้มีความแตกต่างกัน เช่น ความพึ่งพอใจ  ทัศนคติ  รสนิยม  เป็นต้น
  • การวัดในเชิงปริมาณ (Quantitative measurement) การจำแนกความแตกต่างที่สามารถบอกจำนวน หรือขนาดที่แตกต่างกันได้อย่างชัดเจน   จึงสามารถนำจำนวนมารวมกันหรือกระจายเป็นจำนวนย่อย ๆ ได้  เช่น รายได้ของประชาชน  ปริมาณเงินออม  เป็นต้น

ชนิดของข้อมูล

  • ข้อมูลนามบัญญัติ (Nominal data)
    • ข้อมูลที่ได้จากการวัดโดยการจำแนกตัวแปรออกตามลักษณะที่กำหนดขึ้น  แล้วแทนแต่ละกลุ่มด้วยตัวเลข  ตัวเลขเหล่านี้เป็นเพียงแต่ชื่อหรือนามไม่อาจนำมาใช้ในการคำนวณทางเลขคณิตได้  (การบวก ลบ คูณ หารข้อมูลชนิดนี้ไม่มีความหมาย)
    • สถิติที่ใช้กับข้อมูลประเภทนี้ ได้แก่  ความถี่  อัตราร้อยละ ฐานนิยมส่วนสถิติที่นิยมใช้ในการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลกลุ่มเดียวกันคือ Chi – square
  • ข้อมูลเรียงอันดับ (Ordinal data)
    • ข้อมูลที่ได้จากการวัดโดยการจัดอันดับให้เห็นความแตกต่าง  โดยแทนค่าด้วยตัวเลข   แต่ตัวเลขเหล่านี้ไม่มีค่าทางเลขคณิตที่แท้จริง คือ สามารถเปรียบเทียบค่า(มากกว่าน้อยกว่า) ระหว่างหน่วยที่ได้ทำการวัดได้  แต่ยังไม่สามารถบอกปริมาณของความแตกต่างของแต่ละอันดับได้แน่นอนข้อมูลประเภทนี้จึงเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ
    • สถิติที่ใช้กับข้อมูลชนิดนี้ ได้แก่   ความถี่  อัตราร้อยละ  ค่าสหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน(Spearman  rank  correlation)  หรือใช้ Chi-square 
  • ข้อมูลอันตรภาค (Interval data)
    • ข้อมูลที่ได้จากการวัดโดยใช้มาตราและหน่วยการวัด   แต่เป็นการวัดของตัวแปรเป็นช่วง ๆ  โดยมีช่วงความห่างที่แน่นอน   จึงมีคุณสมบัติทางเลขคณิต (บวก ลบ คูณ หาร) ครบถ้วน  แต่ขาดคุณจุดศูนย์โดยธรรมชาติ  เช่น  คะแนนสอบ  คะแนนทัศนคติ  หรือระดับอุณหภูมิ
    • สถิติที่ใช้กับข้อมูลประเภทนี้ คือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Mean)  ค่าเบี่ยง- เบนมาตรฐาน (Standard deviation)  การวิเคราะห์ถดถอย (Regression analysis)
  • ข้อมูลอัตราส่วน (Ratio data)
    • ข้อมูลที่ได้จากการวัดโดยใช้มาตราและหน่วยวัดเช่นเดียวกับข้อมูลอันตรภาค  แต่มาตราและหน่วยวัดจำแนกค่าของตัวแปรแต่ละค่าออกเป็นปริมาณหรือจำนวนอย่างชัดเจน  โดยแม้แต่ค่าศูนย์ก็สามารถวัดได้
    • ข้อมูลชนิดนี้มีคุณสมบัติทางเลขคณิตครบถ้วน (สามารถบวก ลบ คูณ หารได้)  และยังมีจุดศูนย์โดยธรรมชาติ

☎️ ติดต่อปรึกษากับเรา ได้ที่ 096-896-8587 /

https://bit.ly/2WO7oAv /

https://web.facebook.com/iamthesis/