คำว่า การวิจัยหลายคนคงคิดว่าเป็นเรื่องยาก แต่ถ้าพวกเราลองทำความเข้าใจกับคำว่าการวิจัยแล้ว สำหรับการนำไปใช้ในหาศึกษาทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็น สารนิพนธ์, การค้นคว้าอิสระ, ผมเชื่อว่าการวิจัยก็คงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปผมเองเป็นคนนึงที่พอศึกษาเรื่องการวิจัยมาพอสมควรกล้ารับประกันได้ว่าการวิจัยไม่ใช่เรื่องยากแล้วลองมาฟังดูไหมครับว่าการวิจัยที่บอกว่าไม่ใช่เรื่องยากนั้นเป็นอย่างไรในส่วนของนิยมกันที่ใจนั้นเราจะพบว่า การวิจัยนั้นเป็นกระบวนการค้นหาความรู้ความจริงด้วยวิธีการที่มีระบบเชื่อถือได้ เช่น reliability, การตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า, validity เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบของการวิจัยครั้งนี้ในการได้มาซึ่งกำหนดการวิจัยนั้นเราจะอาศัยกระบวนการทางด้านวิทยาศาสตร์ในส่วนของกระบวนการวิจัยนั้นจะประกอบด้วย
ขั้นตอนที่สำคัญอยู่ 7 ขั้นตอนในส่วนของขั้นตอนแรกเป็นการกำหนดปัญหาการวิจัย ขั้นที่ 2 เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์ ขั้นตอนที่ 3 เป็นการทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องใน ขั้นตอนที่ 4 เป็นการออกแบบการวิจัย ขั้นตอนที่ 5 เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลขั้นที่ 6 เป็นการวิเคราะห์ข้อมูล และขั้นตอนที่ 7 เป็นการเขียนรายงานการวิจัย
ขั้นตอนที่ 1 เป็นการกำหนดปัญหาวิจัยซึ่งเป็นขั้นตอนแรกของการวิจัยที่มีความสำคัญมากผู้วิจัยต้องค้นหาและตัดสินใจที่จะเลือกปัญหาวิจัยซึ่งปัญหาวิจัยที่ดีต้องมีความชัดเจนโดยกำหนดจากกรอบแนวคิดทางทฤษฎีและพัฒนามาสู่กรอบแนวคิดในการวิจัยจนได้ปัญหาวิจัยที่มีความเหมาะสม ขั้นตอนที่ 2 เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยเป็นขั้นตอนที่ผู้วิจัยต้องกำหนดวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของการวิจัยซึ่งจะต้องสอดคล้องสัมพันธ์กับปัญหาวิจัย ขั้นตอนที่ 3 เป็นการทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นขั้นตอนไม่ต้องให้ความสำคัญเพราะเป็นขั้นตอนที่ผู้วิจัยจะดำเนินการตั้งแต่เริ่มจนกระทั่งเสร็จสิ้นกระบวนการวิจัยเป็นการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาวิจัยซึ่งผู้วิจัยดำเนินการวิจัยครั้งนี้ในการทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องนั้นเราจะสามารถเริ่มได้ตั้งแต่การค้นหาเพื่อกำหนดปัญหาวิจัยการกำหนดกรอบแนวคิดทฤษฎีการวิจัยการกำหนดวัตถุประสงค์และสมมติฐานการวิจัยการออกแบบการวิจัยไม่ว่าจะเป็นการออกแบบเพื่อกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่างการออกแบบเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยการออกแบบเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลการอภิปรายผลการวิเคราะห์ข้อมูลจนกระทั่งการเขียนรายงานเพื่อการเผยแพร่ผลการวิจัย ขั้นตอนที่ 4 เป็นการออกแบบการวิจัยเป็นขั้นตอนที่ผู้วิจัยดำเนินการวางแผนเพื่อกำหนดวิธีดำเนินการวิจัยโดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนที่สำคัญประกอบด้วยการออกแบบการสุ่มตัวอย่างการออกแบบการวัดตัวแปรและการออกแบบการวิเคราะห์ข้อมูลโดยมีอะไรดังต่อไปนี้ในส่วนของการออกแบบการสุ่มตัวอย่างนั้นเป็นการออกแบบที่ผู้วิจัยดำเนินการสุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นตัวแทนของประชากรโดยใช้กระบวนการสุ่มที่มีความเหมาะสมและมีขนาดที่เหมาะสมและเป็นตัวแทนที่ดีของประชากรในส่วนของการออกแบบการวัดตัวแปรนั้นเป็นการออกแบบเครื่องมือเพื่อสำหรับวัตถุลักษณะตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยได้อย่างเหมาะสมทั้งนี้จะต้องมีการสร้างและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยให้มีประสิทธิภาพน่าเชื่อถือในส่วนของการออกแบบการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการออกแบบการวิเคราะห์ข้อมูลและเลือกใช้สถิติให้เหมาะสมกับปัญหาวิจัย ในขั้นตอนที่ 5 เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งเป็นขั้นตอนที่ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลตามที่ได้ออกแบบไว้โดยนำเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยไปเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ได้มาโดยการสุ่ม ขั้นตอนที่ 6 เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นขั้นตอนที่ผู้วิจัยดำเนินการนำข้อมูลที่ผ่านการเก็บรวบรวมข้อมูลมาแล้วมาดำเนินการวิเคราะห์มาดำเนินการประมวลผลด้วยวิธีการทางสถิติที่ได้ออกแบบไว้เพื่อตอบปัญหาวิจัยและตอบวัตถุประสงค์การวิจัยให้ครบถ้วนและในขั้นตอนสุดท้าย เป็นขั้นตอนที่ 7 ก็คือการเขียนรายงานการวิจัยซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้วิจัยดำเนินการนำเสนอผลการดำเนินการวิจัยสู่สาธารณะในรูปแบบของรายงานการวิจัย
ในส่วนของนิยามคำว่าตัวแปรหรือว่าโรคนั้นหมายถึงสัญลักษณ์ที่ถูกสร้างขึ้นให้มีค่าแตกต่างกันตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปทั้งนี้หากมีค่าเดียวเราจะเรียกว่าตัวคงที่หรือถูกลงค่า
ตัวอย่าง เช่น ตัวแปลงเพศสามารถจำแนกได้เป็นเพศชายและเพศหญิงทั่วไป ตัวแปรการนับถือศาสนาสามารถจำแนกเป็นการนับถือศาสนาพุทธศาสนาคริสต์ศาสนาอิสลามเป็นต้น ในส่วนของลักษณะตัวแปรนั้น เมื่อจำแนกพัฒนาของตัวแปรสามารถจำแนกออกเป็น 2 ประเภทตามลักษณะของการแบ่งตัวแปร ได้แก่ ตัวแปรทวิภาค (Dichotomous Variable) และตัวแปรพหุวิภาค (Polytomous Variable) ดังนี้
ตัวแปรทวิภาคหรือ (Dichotomous Variable) หมายถึงตัวแปรที่มีค่าแตกต่างกันเพียง 2 ค่าตัวอย่างเช่นตัวแปลงเพศซึ่งจำแนกเป็นเพศชายและเพศหญิงหรือตัวแปรผลการเรียนที่จำแนกเป็นการสอบผ่านเกณฑ์และการสอบไม่ผ่านเกณฑ์เป็นต้น
ในส่วนของตัวแปรพหุวิภาค (Polytomous Variable) หมายถึงตัวแปรที่มีค่าแตกต่างกันหลายค่าแต่ยังสามารถนับจำนวนค่าได้เช่นตัวแปรการนับถือศาสนาซึ่งจำแนกเป็นการนับถือศาสนาพุทธศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลาม หรือตัวแปรคณะวิชาจำแนกเป็น คณะศึกษาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการเป็นต้น
และเมื่อจำแนกลักษณะตัวแปรตามความต่อเนื่องของตัวแปรนั้นสามารถจำแนกออกเป็น 2 ประเภทได้แก่ ตัวแปรไม่ต่อเนื่องและตัวแปรต่อเนื่องในส่วนของตัวแปรไม่ต่อเนื่องหมายถึงตัวแปรที่มีค่าแตกต่างกันตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปและสามารถนับจำนวนค่าได้เช่นตัวแปรการนับถือศาสนาจำแนกเป็นนับถือศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลามหรือตัวแปรคณะวิชาจำแนกเป็นคณะศึกษาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการเป็นต้น
ในส่วนของตัวแปรต่อเนื่องหมายถึง ตัวแปรที่มีค่าแตกต่างกันเป็นจำนวนมากจนไม่สามารถนับค่าได้และค่าของตัวแปรนั้นมีค่าติดต่อกันไป เช่น ตัวไปคะแนนสอบ ตัวแปรในเรื่องของอายุ ตัวไปในเรื่องของเงินเดือนเป็นต้น
ตัวแปรในการวิจัยนั้นหมายถึง สิ่งที่ผู้ชายสนใจจะศึกษาซึ่งสามารถแปรค่าตามคุณลักษณะที่ผู้วิจัยสนใจตั้งแต่ 2 ท่านขึ้นไปตัวอย่างปัญหาวิจัยเช่น นักเรียนที่วิธีสอนต่างกันจะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกันหรือไม่ จากปัญหาวิจัยข้างต้นจะพบว่า มีตัวแปรที่ศึกษาจำนวน 2 ตัวแปร ตัวแปรแรก ได้แก่ ตัวแปรวิธีสอนและตัวใบที่สองก็คือ ตัวแปรผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยตัวแปรวิธีสอนนั้น สามารถจำแนกออกเป็นวิธีสอนแบบปัญหาเป็นฐานและวิธีสอนแบบปกติในส่วนของตัวแปรผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สามารถจำแนกออกเป็นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสูงปานกลางและต่ำเป็นต้น ประเภทของตัวแปรทางนี้ตัวแปรในการวิจัยสามารถจำแนกตามแผนแบบการวิจัย ออกเป็น 3 ประเภทได้แก่ ตัวแปรต้น ตัวแปรตามและตัวแปรแทรกซ้อน
โดยที่ตัวแปรต้นหรือที่เราเรียกกันว่า ตัวแปรอิสระเป็นตัวไปที่เป็นเหตุหรือตัวไปที่เกิดขึ้นก่อนตัวแปรต้นอื่นเป็นตัวแปรที่ทำให้เกิดตัวแปรอื่น ตามมาทางนี้ตัวแปรต้นสามารถเรียกชื่อเป็นอย่างอื่นได้ในกรณีการวิจัยเชิงทดลองนิยม เรียกว่า ตัวแปรจัดกระทำ สำหรับการวิจัยเชิงสำรวจ เรียกว่า ตัวแปรคุณลักษณะหรือตัวพยากรณ์ เพราะเป็นตัวไปที่ผู้วิจัยใช้อธิบายหรือพยากรณ์ความฝันแปลงที่เกิดขึ้น ในตัวไปเกณฑ์ประเภทที่ 2 ตัวแปรตามเป็นตัวแปรที่เป็นผลมาจากความผันแปรของตัวแปรต้น ตัวแปรตามสามารถเรียกชื่อคุณอย่างอื่นได้เช่น ตัวแปรเกณฑ์หรือตัวแปรผลการพยากรณ์
ประเภทที่ 3 ตัวแปรแทรกซ้อนเป็นตัวแปรที่มีความผันแปรและส่งผลกระทบทำให้เกิดความผันแปรในตัวแปรตามและตัวแปรนี้เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยไม่สนใจที่จะศึกษาจึงได้พยายามหาทางที่จะควบคุมไม่ให้เกิดขึ้นหรือไม่ให้ผลกระทบกับตัวแปรตาม ดังนั้นเราจึงต้องมีการควบคุมตัวแปรแทรกซ้อนให้เกิดขึ้นให้น้อยที่สุด เพื่อให้ผลการวิจัยที่มีความถูกต้องน่าเชื่อถือ ตัวอย่างเช่น ในการวิจัยครั้งหนึ่ง ผู้วิจัยมีความต้องการศึกษาว่าวิธีการสอนที่แตกต่างกัน ได้แก่ วิธีการสอนแบบโครงงานและวิธีการสอนแบบปกติ จะทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์แตกต่างกันหรือไม่ ผู้วิจัยจึงดำเนินการสุ่มกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 2 ห้องเรียนทั้ง 2 ห้องเรียนนั้นมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่แตกต่างกัน ได้แก่ นักเรียนชั้นห้องที่ 2 และห้องที่ 5 จากนั้นจึงดำเนินการส่งอีกครั้งให้นักเรียนห้องที่ 2 และวิธีการสอนแบบโครงงานและห้องที่ห้าได้รับวิธีการสอนแบบปกติทั้งนี้ผู้วิจัยออกแบบให้นักเรียนในห้อง 2 เรียนในช่วงเช้าและนักเรียนห้อง 5 เรียนในช่วงบ่าย ในระยะเวลาที่เท่ากัน ดังนั้น จึงสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ด้วยแบบทดสอบฉบับเดียวกันผลการวิจัย พบว่า นักเรียนที่วิธีสอนแบบโครงงานมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนการสอนแบบปกติ จากปัญหาวิจัยข้างต้นเราสามารถจำแนกตัวแปรได้ดังต่อไปนี้
ตัวแปรต้น ได้แก่ วิธีการสอนจำแนกเป็นการสอนแบบโครงงานและการสอนแบบปกติ
ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์
และตัวแปรแทรกซ้อน ได้แก่ ช่วงเวลาที่ใช้ในการสอน จะสังเกตได้ว่านักเรียนห้องที่ 2 ที่รับการสอนในช่วงเช้าและนักเรียนห้องที่ 5 เทียบการสอนในช่วงบ่าย ซึ่งช่วงเวลาที่แตกต่างกันนั้น อาจจะส่งผลที่เกิดขึ้นทำให้ผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้นในตัวไปตามนั้นมีความแตกต่างกัน