Author: iamthesis

  • แนวคิดเกี่ยวกับการวัดและข้อมูล

    แนวคิดเกี่ยวกับการวัดและข้อมูล ในการวิจัยจำเป็นจะต้องใช้ข้อมูลควบคู่ไปกับแนวคิด  โดยการเชื่องโยงแนวคิดเข้ากับข้อมูล   ข้อมูลจึงเป็นสิ่งที่วัดได้  สิ่งที่นักวิจัยจะต้องทำความเข้าใจก็คือ  แนวคิดในการวัด การวัด (Measurement) คือ กระบวนการที่ระบุความแตกต่างของคุณสมบัติของหน่วยวิเคราะห์ว่ามีความแตกต่างกันหรือไม่ แตกต่างกันในลักษณะใด  และมากน้อยเพียงใด เงื่อนไขสำคัญในการวัดตัวแปรมี ๒ ประการ คือ นิยามตัวแปรหรือสิ่งที่ต้องการจะวัดให้ชัดเจน มีมาตราและหน่วยที่ใช้วัด (Unit of measurement) การวัดในเชิงคุณลักษณะ (Qualitative measurement)    การวัดคุณภาพหรือกายภาพที่แสดงลักษณะของปรากฏการณ์ที่สังเกต เช่น  ร้อน – เย็น, ดี – ไม่ดี, หนัก – เบา เป็นต้น   การวัดในลักษณะนี้จึงเป็นการวัดในเชิงเปรียบเทียบ  เพื่อแยกระดับของตัวแปรให้มีความแตกต่างกัน เช่น ความพึ่งพอใจ  ทัศนคติ  รสนิยม  เป็นต้น การวัดในเชิงปริมาณ (Quantitative measurement) การจำแนกความแตกต่างที่สามารถบอกจำนวน หรือขนาดที่แตกต่างกันได้อย่างชัดเจน   จึงสามารถนำจำนวนมารวมกันหรือกระจายเป็นจำนวนย่อย ๆ ได้  เช่น รายได้ของประชาชน  ปริมาณเงินออม …

  • ฐานข้อมูลเริ่มต้นสำหรับผู้ทำวิจัยและนักศึกษา

    การค้นหาฐานข้อมูลเริ่มต้นสำหรับผู้ทำวิจัยและนักศึกษา สำหรับฐานข้อมูล บทความ การตีพิมพ์ thesis วิทยานิพนธ์ เพื่อใช้ในการนำไปต่อยอด มี Journal หลัก 1000 ชื่อ โดยเกินครึ่งมีค่า Impact Factor การันตีคุณภาพ!สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ภายใต้เครือข่ายมหาวิทยาลัย ScienceDirect เป็นฐานข้อมูล ครอบคลุมสาขาวิชา Physical Sciences and Engineering, Life Sciences, Health Sciences, Social Sciences, and Humanities https://library.cm.mahidol.ac.th/…/90-sciencedirect… SpringerLink – เป็นฐานข้อมูลหนังสือและวารสารอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://library.cm.mahidol.ac.th/…/89-springer-link… Wiley Online LibraryWiley Online Library is the international scientific, technical, medical, and scholarly publishing business…

  • ปัญหาในการวิจัย (research problem)

    ก่อนเริ่มทำงานวิจัย เราต้องรู้ ปัญหาในการวิจัย (Research problem) เพราะฉะนั้นเรามาดูปัญหาในการวิจัยกันก่อน หมายถึงอะไร ปัญหาในการวิจัย หมายถึง สิ่งที่เกิดจากความสงสัยใคร่รู้คำตอบเปรียบเสมือนเป็นคำถามของการทำวิจัยเรื่องนั้นว่าเราต้องการหาคำตอบ อะไรคือการทำวิจัยในประเด็นใด จะหาความจริงจากการวิจัยหรือจากเรื่องนั้นได้อย่างไร อันนี้คือความหมายของ Research Problems ที่จะทำวิจัยตัวผู้วิจัยจึงมีแหล่งปัญหาที่จะทำวิจัยยังไงก็คือ จากประสบการณ์ จากความสนใจและจากการสังเกต จากการศึกษาทฤษฎีวรรณกรรมในสาขาที่เกี่ยวคือการทบทวนงานวิจัยที่เราต้องการที่จะศึกษาหรือที่เกี่ยวข้องกับงานของเราที่เราคิดไว้ แล้วก็ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ต่อไปก็คือ ผู้นำทางวิชาการ แหล่งทุนอุดหนุนการวิจัยผู้นำทางวิชาการก็คือเราต้องหาผู้นำทางวิชาการที่สามารถให้คำแนะนำ ในการที่จะพาเราไปสู่การคิดค้นการทำวิจัยได้แต่ก็แหล่งทุนทุนอุดหนุนการวิจัยซึ่งข้อนี้ก็ทุกท่านที่ทำวิจัยก็สามารถมองหาตรงนี้ ต่อไป ก็คือหน่วยงานที่ผู้วิจัยทำงานหรือการจะคิดปัญหาที่จะทำวิจัยสัมพันธ์กับหน่วยงานที่ตั้งใจทำงานก็คือเราจะคิดถึงใกล้ตัว ในแต่ละสาขาที่เราทำวิจัยเนี่ยเราก็ต้องมีความเชี่ยวชาญในที่ทำงานใช่ไหมคะแล้วเราจะเอาประสบการณ์ตรงนั้น ที่เราได้จากการสังเกตการเก็บข้อมูลมาสร้าง ในการทำวิจัยก็ได้ ในสร้างปัญหาหรือเราจะมองหาจากข่าวในสื่อมวลชน มาจากข้อเสนอแนะของผลการวิจัยที่ทำมาแล้วนึกได้มาจากการรีวิวหรือการทบทวนวรรณกรรมของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับในความสนใจของงานที่เราจะทำ ปัญหาที่ได้จากผู้อื่นก็อาจจะเป็นเราได้ discuz หรือเราได้พูดคุย กับอาจารย์ที่ปรึกษาหรือได้พูดคุยกับเพื่อนในหน่วยงานที่เราทำงาน เราก็สามารถหาปัญหาการทำวิจัยมาได้ จากผู้อื่นหรืออาจจะมีวิธีอีกหลายวิธีที่จะเป็นที่มาของปัญหาและการทำวิจัย ต่อไปลักษณะของการเขียนปัญหาการวิจัยก็คืออยู่ในรูปแบบประโยคคำถาม และไม่กำกวมสำหรับการแสดงความสัมพันธ์ของตัวแปรทั้งหมดในงานวิจัยของเรา สามารถตรวจสอบได้ เช่นตัวอย่างการเขียนรายงานการวิจัยนี้ ปัญหาการวิจัยชื่อเรื่องหัวข้อการวิจัยอย่างเช่นเพศมีความเกี่ยวข้องกับความสามารถในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษหรือไม่เป็นปัญหาการวิจัยชื่อหัวข้อการวิจัยแต่ก็ควรจะตั้งว่าการศึกษาความสามารถในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักศึกษาชายและหญิงในมหาวิทยาลัยมีเพศอยู่ใช่ไหมคะมีวิชาภาษาอังกฤษที่เราสนใจ เป็นตัวแปรที่ใช้ในการทำวิจัย อันนี้ก็คือตัวอย่างในการตั้งชื่อหัวข้อการวิจัยและปัญหาการวิจัย ประโยชน์ของปัญหาการวิจัยที่ชัดเจนถ้าเรามองเห็น ก็คือตั้งชื่อเรื่องการวิจัยหัวข้อการวิจัยได้ กำหนดวัตถุประสงค์ ออกแบบวางแผนการวิจัย การตั้งชื่อเรื่องหรือโครงการวิจัยจะต้องสอดคล้องและเกื้อกับปัญหาที่จะวิจัยชัดเจนนะที่เฉพาะปัญหาที่จะศึกษาควรขึ้นต้นชื่อเรื่องด้วยความสำคัญของปัญหาใช้ภาษาไม่กำกวม ใช้ภาษาที่กระชับและแทนใจความของปัญหาทั้งหมดได้ ตั้งก่อนหรือหลังก็ได้ เพราะฉะนั้นการที่ตั้งชื่อเรื่องโครงการวิจัยต่างๆ ในงานวิจัยของเราเนี่ยก็จะมีลักษณะดังที่กล่าวมา   👉รับฟังทาง…

  • รวมเว็บไซต์วิทยานิพนธ์ งานวิจัย วารสาร และหนังสือ ที่ดาวน์โหลดฟรี

    1. ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasat University Theses)http://digital.library.tu.ac.th/…/Search/index/collection:20 2. คลังปัญญาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR)https://cuir.car.chula.ac.th 3. ฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยรามคำแหงhttp://library.lib.ru.ac.th/screens/mainmenu_thx.html 4. ฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยนเรศวร NU Digital Repositoryhttp://nuir.lib.nu.ac.th/dspace 5. ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่Facebook ไม่ให้โพสลิงค์ รบกวนค้นหาคำว่า CMU e-Thesis ใน Google นะครับ 6. ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต (DPU e-Theses)https://lib.dpu.ac.th/page.php?id=6488 7. ฐานข้อมูล Dspace มหาวิทยาลัยศิลปากรhttp://www.graduate.su.ac.th/dspace/index.php 8. คลังปัญญามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ PSU Knowledge Bank มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์http://kb.psu.ac.th/psukb 9. ฐานข้อมูลสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)http://libsearch.nida.ac.th 10. ฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชhttp://ird.stou.ac.th/dbresearch/index.php 11. Thai…

  • วิทยานิพนธ์ทํายังไง

    คำถาม>> “ผมยังไม่มีความรู้เรื่องการทำวิทยานิพนธ์เลยครับ” “ควรเริ่มยังไงดี ผมคิดว่าจะไปหาวิทยานิพนธ์ทํายังไงของคนอื่นมาอ่านๆ ดู หัวข้อ วิธีการทำ มาเป็นแนวทาง ดีเปล่าครับ” ราชบัณฑิตยสภา กล่าวว่า วิทยานิพนธ์ ประกอบด้วยคำว่า วิทยา กับ นิพนธ์. คำว่า วิทยา ในที่นี้ใช้หมายถึง วิชาการ คือ ความรู้ที่เป็นศาสตร์ในสาขาใด ๆ ที่มีการศึกษากัน โดยเฉพาะในระดับบัณฑิตศึกษา. คำว่า นิพนธ์ แปลว่า แต่งหนังสือ. คำว่า วิทยานิพนธ์ จึงแปลว่า หนังสือที่แต่งเรื่องทางวิชาการ. ใช้เรียกผลงานของนักศึกษาระดับปริญญาโทหรือเอก ที่เขียนขึ้นเพื่อแสดงความรู้ที่ค้นคว้ามาได้ใหม่ เช่น นักศึกษาระดับปริญญาโทหรือปริญญาเอกต้องศึกษาค้นคว้าความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลึกซึ้ง เมื่อได้ความรู้ใหม่แล้วจึงเสนอเป็นวิทยานิพนธ์เพื่อขอรับปริญญามหาบัณฑิตหรือดุษฎีบัณฑิต วิทยานิพนธ์ในระดับโทและเอก จะแบ่งรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแตกต่างกันตามแต่ละมหาวิทยาลัยเป็นผู้จัดหลักสูตรขึ้นมา ส่วนแรกจะเป็นการเรียนการสอนในเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรที่ลงทะเบียน เช่น Research methodology พร้อมหาหัวข้อสำหรับทำวิทยานิพนธ์ ส่วนที่สองจะเป็นการทำวิทยานิพนธ์ทํายังไง จะต้องคัดเลือกสถานที่วิจัย ประชากร การกำหนดจำนวนตัวอย่างและสุ่มตัวอย่าง สถิติวิเคราะห์ที่ต้องใช้ เหตุผลที่ใช้ การพัฒนาเครื่องมือ ในการเก็บข้อมูล การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ และเหตุผลที่เลือกใช้วิธีนั้นๆ…

  • สารนิพนธ์ ต่างจาก วิทยานิพนธ์ อย่างไร

    วิทยานิพนธ์ (เข้มข้น) คือ งานวิทยานิพนธ์หรืองานวิจัยระดับอุดมศึกษา อันเป็นผลงานจากการค้นคว้าวิจัย เป็นงานเขียนวิชาการที่นักศึกษาทุกคนโดยเฉพาะในระดับปริญญาโทและเอกต้องจัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการจบการศึกษา รับปริญญา เพื่อเป็นเกียรติคุณและ เป็นไปเบิกทางในสายอาชีพต่างๆ ที่ตนเองสนใจในอนาคต สารนิพนธ์ คือ การค้นคว้าอิสระ (Independent Study) หมายถึง การศึกษาวิจัยอิสระ โดยอาศัยการกลั่นกรองความรู้และสาระในเนื้อหาต่างๆ ที่มีผู้ศึกษาวิจัยไว้แล้ว การค้นคว้าอิสระที่ได้มาจากการอ่าน การรวบรวมวิเคราะห์ของผู้เขียนแล้วนำมาสรุปผลให้เป็นเรื่องเดียวกัน สารนิพนธ์ต่างจากวิทยานิพนธ์ ในเรื่องของแนวคิด (concept) หรือตัวแปร (variable) ตัวเดียว ใช้สถิติหรือการวิเคราะห์อย่างง่าย และจำกัดบริบทที่ศึกษา ระยะเวลาที่ชัดเจน แต่จะไม่เข้มข้นเรื่องคุณภาพของความถูกต้อง (validity) และความเชื่อมั่น (reliability มากกว่า) เท่ากับทางด้านวิทยานิพนธ์ ดังนั้นการตัดสินใจเลือกว่า จะทำสารนิพนธ์หรือวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท มีปัจจัยสำคัญในการเลือกสารนิพนธ์ ข้อดีคือ ไม่ยุ่งยาก เป็นการเรียนการสอนของหลักสูตร แต่ข้อเสียคือนักศึกษาไม่มีประสบการณ์เต็มที่ในการเขียนงานวิจัย อาจจะไม่สามารถใช้ในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นไป หรืออาจจะมีปัญหาไม่ได้รับการยอมรับ เมื่อเราทำหน้าที่ทางวิชาการ เช่น อาจารย์ ครู ในทางตรงกันข้ามกับการเลือกทำวิทยานิพนธ์มีข้อดีคือทำให้นักศึกษามีความรู้ เป็นที่ยอมรับทางวิชาการ และมีโอกาสเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกที่ตั้งมาตรฐานการสอบคัดเลือก แต่จะใช้ระยะเวลาสำหรับการศึกษาเกินกว่าหลักสูตรกำหนดเป็นปกติ การทำงานวิจัยนักศึกษาต้องตั้งโจทย์หรือคำถามการวิจัย (research…

  • ตรวจภาษาอังกฤษ ให้ตรงตามหลัก Grammar ด้วยเว็บไซต์

    https://www.grammarly.com/      เว็บไซต์ Grammarly เป็นแพลตฟอร์มที่ให้บริการเครื่องมือช่วยในการเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้ AI ในการตรวจสอบและแก้ไขไวยากรณ์ การสะกดคำ สไตล์การเขียน และการวิเคราะห์โทนของข้อความ นอกจากนี้ยังมีการตรวจสอบการลอกเลียนเนื้อหา (plagiarism) เพื่อให้ผู้ใช้มั่นใจว่าข้อความของตนมีความถูกต้องและเหมาะสมในการสื่อสาร ใช้งานได้บนหลากหลายแพลตฟอร์ม เช่น บราวเซอร์ แอปพลิเคชัน และโปรแกรมต่าง ๆ ซึ่งช่วยให้การเขียนมีประสิทธิภาพและชัดเจนยิ่งขึ้น     Grammarly มีประโยชน์ในหลายด้าน เช่น: การตรวจสอบไวยากรณ์และการสะกดคำ: ช่วยแก้ไขข้อผิดพลาดทางภาษา ทำให้ข้อความชัดเจนและเป็นมืออาชีพมากขึ้น การปรับปรุงสไตล์การเขียน: แนะนำการปรับปรุงโครงสร้างประโยคและคำศัพท์เพื่อให้ข้อความมีคุณภาพดีขึ้น การวิเคราะห์โทน: ตรวจสอบและแนะนำการปรับโทนการเขียนให้สอดคล้องกับเป้าหมายของการสื่อสาร การตรวจสอบการลอกเลียนเนื้อหา: ป้องกันการใช้เนื้อหาที่ซ้ำซ้อนหรือคล้ายคลึงกับผู้อื่น      Grammarly ช่วยให้ผู้ใช้สามารถพัฒนาทักษะการเขียนและทำให้ข้อความสื่อสารได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น. Email: thesisonline99@gmail.com ยินดีให้คำปรึกษาทุกท่านค่ะ คลิก : https://m.me/iamthesis/ Facebook : https://www.facebook.com/iamthesis Website: http://www.iamthesis.com/ ช่องทางในการติดตามความรู้จากเรา#บทความ #แปล #ปรึกษาวิทยานิพน์#เครื่องมือวิจัย #เทคนิคสำหรับวิจัย #งานวิจัย#การวิจัย…

  • ความเชื่อถือได้ (Reliability) ในงานวิจัย

    ความเชื่อถือได้ของมาตรวัด ( Reliability ) งานวิจัย คือ ความสอดคล้องกันของผลที่ได้จากการวัดแต่ละครั้ง >> ความเชื่อถือ Reliability โดยการวัดวิธีเดียวกันหลาย ๆ ครั้ง แล้ว นำผลการวัดมาหาความสัมพันธ์กันของความเชื่อถือ ค่าของความสัมพันธ์ของการวัด คือ ค่าบ่งชี้อัตราความเชื่อถือได้ วิธีหาค่าความเชื่อถือได้ของมาตรวัด / เครื่องมือ 1. วิธีการทดสอบแล้วทดสอบซ้ำ (Test and retest method) ความคงเส้นคงวาของคะแนนจากการวัดในช่วงเวลาที่ต่างกัน โดยวิธีสอบซ้ำด้วยแบบทดสอบเดิม การหาค่าความเชื่อมั่น : การทดสอบซ้ำใช้การคำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนที่วัดได้จากคนกลุ่มเดียวกัน ด้วยเครื่องมือเดียวกัน โดยทำการวัดสองครั้งในเวลาที่ต่างกัน ใช้มาตรวัดเดียวกันกับคนกลุ่มเดียวกันในเวลาต่างกัน ดูความสัมพันธ์ระหว่างผลการวัดทั้ง 2 ครั้ง ถ้ามีความสัมพันธ์สูง แสดงว่า มีความเชื่อมั่นสูง 2. วิธีวัดแบบที่ทดสอบแทนกันได้ (Alternate forms method) การทดสอบแบบใช้ข้อสอบเหมือนกัน Equivalent-Forms Reliability ความสอดคล้องกันของคะแนนจากการวัดในช่วงเวลาเดียวกันโดยใช้แบบทดสอบที่สมมูลกัน การหาค่าความเชื่อมั่น : การทดสอบแบบใช้ข้อสอบเหมือนกันใช้การคำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนที่วัดได้จากคนกลุ่มเดียวกันด้วยเครื่องมือ 2 ฉบับที่ทัดเทียมกัน…

  • Validity (ความถูกต้อง)ในงานวิจัย

    ความถูกต้อง Validity ในงานวิจัย Validity ประเภทของความถูกต้อง             หรือ การวัดต้องมีความถูกต้องเป็นคุณสมบัติที่สำคัญประการหนึ่งของ เครื่องมือวิจัยกล่าวคือ เป็นเครื่องมือที่สามารถวัดได้ตรงกับที่ต้องการจะวัด การตรวจสอบความตรงทำได้หลายวิธี ดังนี้ 1. ความถูกต้องเกี่ยวกับมาตรฐาน (Criterion–related validity) เป็นความถูกต้องที่สอดคล้องกับความคิด/มาตรฐาน ที่เราใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน เป็นการประเมินความตรงตามเกณฑ์ที่ได้มาตรฐานการตรวจสอบที่มุ่งหาความสัมพันธ์ระหว่างค่าที่วัดได้จากเครื่องมือที่สร้าง กับค่าที่วัดได้จากเกณฑ์ ความสำคัญอยู่ที่เกณฑ์ที่ผู้วิจัยเลือกว่าถูกต้องตามหลักทฤษฎี ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปหรือไม่ เกณฑ์ที่เลือกใช้มี 2 ลักษณะ ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่ต้องการให้เครื่องมือนั้นวัดได้ตรงตามเกณฑ์ กล่าวคือ 1.2.1) ตรงตามสภาพ (Concurrent Validity) หมายถึง ลักษณะที่เครื่องมือวัดได้มีความตรงตามสภาพความเป็นจริงโดยทั่ว ๆ ไปในเวลานั้น 1.2.2) ความตรงตามทำนาย (Predictive Validity) หมายถึง ลักษณะที่เครื่องมือวัดได้มีความตรงตามความจริงที่จะเกิดขึ้นตามมาภายหลัง หรือในอนาคต ซึ่งสามารถทำนายได้ 2. ความถูกต้องในเนื้อหา (Content validity) ความครอบคลุมของมาตรวัด/เครื่องมือในเรื่องที่เป็นเนื้อหาของสิ่งที่ต้องการวัด ความสามารถในการวัดกลุ่มเนื้อหาที่ต้องการจะวัดได้ครอบคลุมและเป็นตัวแทนของสิ่งที่ต้องการวัด เช่น วัดความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ หรือการวัดทักษะด้านต่าง ๆ เป็นการมองโดยส่วนรวมว่าเครื่องมือหรือชุดของคำถามหรือแบบวัดนั้น  ครอบคลุมเนื้อหาที่จะวัดได้ถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ …