Author: iamthesis
-
แบบแผนการสุ่มตัวอย่าง มีอะไรบ้าง
แบบแผนการสุ่มตัวอย่าง ในการสุ่มตัวอย่างจากประชากร อาจแบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ การสุ่มตัวอย่างชนิดที่ไม่ทราบโอกาส หรือความน่าจะเป็นที่แต่ละหน่วยถูกเลือกขึ้นมาเป็นตัวอย่าง (Non – probability sampling) ไม่สามารถวัดควาถูกต้อง หรือ ความเชื่อถือได้ของค่าประมาณจากตัวอย่างนั้น ๆ การสุ่มตัวอย่างชนิดที่ทราบโอกาส หรือความน่าจะเป็นที่แต่ละหน่วยถูกเลือกขึ้นมาเป็นตัวอย่าง (Probability sampling) สามารถกำหนดได้ว่า หน่วยแต่ละหน่วยของประชากรมีโอกาสเท่าใด ที่จะถูกเลือกขึ้นมาเป็นตัวอย่าง การสุ่มตัวอย่างชนิดที่ไม่ทราบโอกาส – ไม่สามารถวัดควาถูกต้อง หรือ ความเชื่อถือได้ของค่าประมาณจากตัวอย่างนั้น ๆ ใช้ได้ผลดีในกรณีที่ลักษณะของสิ่งที่ศึกษาพบได้น้อยในประชากร และในกรณีที่ไม่สามารถกำหนดกรอบของหน่วยศึกษาใน แบบแผนการสุ่มตัวอย่าง ได้ – การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental sampling) – การสุ่มตัวอย่างแบบโควต้า (Quota sampling) – การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) – การสุ่มตัวอย่างแบบบอลล์หิมะ (Snowball sampling)…
-
การออกแบบวิจัย (Research Design)
การออกแบบวิจัย (Research Design) หมายถึงอะไร แบบวิจัย หมายถึง ขอบข่ายของโปรแกรมการวิจัยที่แสดงถึงแบบจำลองของการจัดกระทำตัวแปรในการวิจัย โดยเฉพาะการจัดเก็บข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ได้คำตอบบรรลุจุดมุ่งหมายของการวิจัยอย่างถูกต้องสมบูรณ์ การกำหนดแบบวิจัยหรือแบบจำลองการจัดกระทำตัวแปรในการวิจัยให้เหมาะสมกับปัญหาที่มุ่งวิจัย/มากกว่าการวางแผนการวิจัยที่เขียนออกมาในรูปโครงการวิจัย จุดมุ่งหมายของการออกแบบวิจัย 1. เพื่อให้ได้คำตอบในปัญหาที่ทำการวิจัยอย่างถูกต้อง แม่นตรง และประหยัด 2. ควบคุมความแปรปรวนของตัวแปรในการวิจัย Email: thesisonline99@gmail.comยินดีให้คำปรึกษาทุกท่านค่ะ คลิก : https://bit.ly/2WO7oAvFacebook : https://www.facebook.com/iamthesisWebsite: http://www.iamthesis.com/ช่องทางในการติดตามความรู้จากเรา#บทความ #แปล #ปรึกษาวิทยานิพนธ์#เครื่องมือวิจัย #เทคนิคสำหรับวิจัย #งานวิจัย#การวิจัย #วิจัย
-
เกณฑ์ใน การพิจารณาประสิทธิภาพแบบวิจัย
เกณฑ์ในการพิจารณาประสิทธิภาพแบบวิจัย มุ่งสู่คำตอบในปัญหาวิจัย ควบคุมความแปรปรวนได้ (MAX , MIN , CON) มีความตรงภายใน (Internal validity) มีความตรงภายนอก (External validity) ความตรงภายใน (Internal validity) ผลการวิจัย เป็นผลอันเนื่องจากตัวแปรอิสระ/ตัวแปรทดลอง หรือตัวแปรหลัก มากกว่าตัวแปรอื่นที่ไม่ได้ศึกษา ตามเกณฑ์ใน การพิจารณาประสิทธิภาพแบบวิจัย ตัวแปรเกินที่อาจมีผลกระทบต่อความตรงภายใน History : เหตุการณ์ที่เกิดระหว่างการทดลองมีผลต่อการทดลอง Maturation : กระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในของผู้รับการทดลอง Testing : ปฏิกิริยาที่เกิดจากการวัดครั้งแรก Instrumentation : การเปลี่ยนแปลงของเครื่องมือวัด/ผู้ทดลอง statistical regression : การถดถอยทางสถิติของคนที่ได้คะแนนสูงสุด/ต่ำสุดในครั้งต่อไป Selection : ความลำเอียงจากการเลือกกลุ่มตัวอย่าง Experimental Mortality : การสูญเสียตัวอย่างระหว่างทดลอง Selection-maturation interaction :…
-
หลักในการออกแบบวิจัย
หลักในการออกแบบวิจัย ประกอบไปด้วย หลักการควบคุมความแปรปรวนของตัวแปร (The “maxmincon” principle) Max : ทำให้ความแปรปรวนของ Dependent variable อันเนื่องจากตัวแปรทดลองหรือตัวแปรหลักมีค่าสูงสุด (Independent variable) Min : ทำให้ความแปรปรวนอันเนื่องจากความคลาดเคลื่อนมีค่าต่ำสุด Con : ควบคุมอิทธิพลของตัวแปรเกิน Maximization of experimental variance (MAX) เป็นความแปรปรวน/หรือความแตกต่างของค่าหรือคะแนนของตัวแปรตาม : อันเป็นผลมาจากความแตกต่างของตัวแปรอิสระ/ตัวแปรทดลอง/ตัวแปรหลัก ⇒ ผู้วิจัยต้องพยายามจัดให้ตัวแปรอิสระมีความแตกต่างกันมากที่สุดเพื่อจะได้ส่งผลไปสู่ตัวแปรตามซึ่งเป็นไปตามหลักในการออกแบบวิจัย Minimization of error variance (MIN) ขจัดความแปรปรวนที่เกิดจากการวัดและกลุ่มตัวอย่างที่แตกต่างกัน ⇒ ต้องสร้างเครื่องมือวัดให้มีความตรงและมีความเชื่อถือได้ (reliability) ⇒ ควบคุมสถานการณ์ทดลองให้เป็นระบบ ⇒ พิจารณาสถิติในการวิเคราะห์ให้เหมาะสมกับระดับการวัด Control of extraneous variable (CON) ควบคุมอิทธิพลของตัวแปรที่ไม้ได้ศึกษา ⇒ การสุ่ม/ป้องกันความแตกต่างอันเนื่องจากการเลือกตัวอย่าง (ตัวอย่างที่มาจากประชากรเดียวกัน จะมีคุณสมบัติเหมือนกัน) ⇒ นำมาเป็นตัวแปรอิสระด้วย…
-
วิธีการตรวจสอบสามเส้า (triangulation)
วิธีการตรวจสอบสามเส้า คืออะไร จากผู้วิจัยหรืออาจารย์สอนในระดับ ป.โท ป.เอก มักอ้าง วิธีการตรวจสอบสามเส้า (triangulation) คำว่า “การตรวจสอบสามเส้า” ตลอดเวลา หลัก 3 ประการของการตรวจสอบคุณภาพงานวิจัย และใช้เฉพาะการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี้ Triangulation หมายถึง การเปรียบเทียบข้อค้นพบ (Finding) ของปรากฏการณ์ที่ทำการศึกษา (Phenomenon) จากแหล่งและมุมมองที่แตกต่างกัน นักวิจัยจำนวนมากคาดหมายว่า Triangulation เป็นแนวทางการยืนยันความน่าเชื่อถือ (Credibility, validity) ของข้อมูลหรือสิ่งที่ค้นพบ ข้อเท็จจริง คือ การตรวจสอบสามเส้า (triangulation) เป็นการใช้ระเบียบวิธีการวิจัยหลายอย่างในการศึกษาปรากฏการณ์เดียวกัน ไม่จำเป็นต้องมีสามข้อ มีมากกว่านี้ก็ได้ เช่น ระเบียบวิธีวิจัย (research method triangulation), ทฤษฎี (theoretical triangulation), ผู้วิจัย (researcher triangulation), ข้อมูล (data triangulation)…