Category: ความรู้สำหรับวิทยานิพนธ์
-
เรื่องที่ 1 แนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัย
คำว่า การวิจัยหลายคนคงคิดว่าเป็นเรื่องยาก แต่ถ้าพวกเราลองทำความเข้าใจกับคำว่าการวิจัยแล้ว สำหรับการนำไปใช้ในหาศึกษาทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็น สารนิพนธ์, การค้นคว้าอิสระ, ผมเชื่อว่าการวิจัยก็คงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปผมเองเป็นคนนึงที่พอศึกษาเรื่องการวิจัยมาพอสมควรกล้ารับประกันได้ว่าการวิจัยไม่ใช่เรื่องยากแล้วลองมาฟังดูไหมครับว่าการวิจัยที่บอกว่าไม่ใช่เรื่องยากนั้นเป็นอย่างไรในส่วนของนิยมกันที่ใจนั้นเราจะพบว่า การวิจัยนั้นเป็นกระบวนการค้นหาความรู้ความจริงด้วยวิธีการที่มีระบบเชื่อถือได้ เช่น reliability, การตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า, validity เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบของการวิจัยครั้งนี้ในการได้มาซึ่งกำหนดการวิจัยนั้นเราจะอาศัยกระบวนการทางด้านวิทยาศาสตร์ในส่วนของกระบวนการวิจัยนั้นจะประกอบด้วย ขั้นตอนที่สำคัญอยู่ 7 ขั้นตอนในส่วนของขั้นตอนแรกเป็นการกำหนดปัญหาการวิจัย ขั้นที่ 2 เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์ ขั้นตอนที่ 3 เป็นการทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องใน ขั้นตอนที่ 4 เป็นการออกแบบการวิจัย ขั้นตอนที่ 5 เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลขั้นที่ 6 เป็นการวิเคราะห์ข้อมูล และขั้นตอนที่ 7 เป็นการเขียนรายงานการวิจัย ขั้นตอนที่ 1 เป็นการกำหนดปัญหาวิจัยซึ่งเป็นขั้นตอนแรกของการวิจัยที่มีความสำคัญมากผู้วิจัยต้องค้นหาและตัดสินใจที่จะเลือกปัญหาวิจัยซึ่งปัญหาวิจัยที่ดีต้องมีความชัดเจนโดยกำหนดจากกรอบแนวคิดทางทฤษฎีและพัฒนามาสู่กรอบแนวคิดในการวิจัยจนได้ปัญหาวิจัยที่มีความเหมาะสม ขั้นตอนที่ 2 เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยเป็นขั้นตอนที่ผู้วิจัยต้องกำหนดวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของการวิจัยซึ่งจะต้องสอดคล้องสัมพันธ์กับปัญหาวิจัย ขั้นตอนที่ 3 เป็นการทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นขั้นตอนไม่ต้องให้ความสำคัญเพราะเป็นขั้นตอนที่ผู้วิจัยจะดำเนินการตั้งแต่เริ่มจนกระทั่งเสร็จสิ้นกระบวนการวิจัยเป็นการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาวิจัยซึ่งผู้วิจัยดำเนินการวิจัยครั้งนี้ในการทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องนั้นเราจะสามารถเริ่มได้ตั้งแต่การค้นหาเพื่อกำหนดปัญหาวิจัยการกำหนดกรอบแนวคิดทฤษฎีการวิจัยการกำหนดวัตถุประสงค์และสมมติฐานการวิจัยการออกแบบการวิจัยไม่ว่าจะเป็นการออกแบบเพื่อกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่างการออกแบบเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยการออกแบบเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลการอภิปรายผลการวิเคราะห์ข้อมูลจนกระทั่งการเขียนรายงานเพื่อการเผยแพร่ผลการวิจัย ขั้นตอนที่ 4 เป็นการออกแบบการวิจัยเป็นขั้นตอนที่ผู้วิจัยดำเนินการวางแผนเพื่อกำหนดวิธีดำเนินการวิจัยโดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนที่สำคัญประกอบด้วยการออกแบบการสุ่มตัวอย่างการออกแบบการวัดตัวแปรและการออกแบบการวิเคราะห์ข้อมูลโดยมีอะไรดังต่อไปนี้ในส่วนของการออกแบบการสุ่มตัวอย่างนั้นเป็นการออกแบบที่ผู้วิจัยดำเนินการสุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นตัวแทนของประชากรโดยใช้กระบวนการสุ่มที่มีความเหมาะสมและมีขนาดที่เหมาะสมและเป็นตัวแทนที่ดีของประชากรในส่วนของการออกแบบการวัดตัวแปรนั้นเป็นการออกแบบเครื่องมือเพื่อสำหรับวัตถุลักษณะตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยได้อย่างเหมาะสมทั้งนี้จะต้องมีการสร้างและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยให้มีประสิทธิภาพน่าเชื่อถือในส่วนของการออกแบบการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการออกแบบการวิเคราะห์ข้อมูลและเลือกใช้สถิติให้เหมาะสมกับปัญหาวิจัย ในขั้นตอนที่ 5 เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งเป็นขั้นตอนที่ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลตามที่ได้ออกแบบไว้โดยนำเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยไปเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ได้มาโดยการสุ่ม ขั้นตอนที่ 6 เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นขั้นตอนที่ผู้วิจัยดำเนินการนำข้อมูลที่ผ่านการเก็บรวบรวมข้อมูลมาแล้วมาดำเนินการวิเคราะห์มาดำเนินการประมวลผลด้วยวิธีการทางสถิติที่ได้ออกแบบไว้เพื่อตอบปัญหาวิจัยและตอบวัตถุประสงค์การวิจัยให้ครบถ้วนและในขั้นตอนสุดท้าย เป็นขั้นตอนที่…
-
เทคนิคการเลือกหัวข้อวิจัย
สวัสดี วันนี้เลยครับเดี๋ยวจะมาพูดถึงเรื่องของการเลือกหัวข้อวิจัยนะครับ ซึ่งแน่นอนครับเวลาที่เรียน Course work ใกล้จะจบแล้วก็จะต้องมีการเลือกหัวข้อวิจัยเพื่อที่จะได้ทำงานต่อได้ ซึ่งในส่วนของการเลือกหัวข้อวิจัยก็จะมีเทคนิค เราสามารถที่จะเอาเทคนิคนี้ไปประยุกต์ใช้แล้วก็ไปค้นหาหัวข้อวิจัยปัญหาวิจัยที่มันเหมาะกับเรา เพราะว่าปัญหาเรื่องหัวข้อวิจัยที่ไม่เหมาะกับตัวเองเลย คือเลือกหัวข้อไปแล้วปรากฏว่าทำไม่ได้ครับ ทำไม่ได้ก็เกิดอาการท้อหลายคนก็หยุดเรียนไปซะงั้น อันนี้ก็เลยเป็นปัญหาครับว่าทำไมหัวข้อที่เลือกมาเนี่ยมันถึงไม่ตอบโจทย์มันถึงไม่สำเร็จ success กับผู้วิจัยเลย คำว่าวิจัย Research มันก็คือวิธีการในการค้นหาสาเหตุหรือที่มาของปัญหาอย่างมีขั้นมีตอนโดย Research มันจะผ่าน Research methodology เลยครับหรือว่าระเบียบวิธีวิจัย ซึ่งเป็นกระบวนการในการค้นหาคำตอบนั้นเอง วิธีวิจัยก็คือ 5 บทนั่นแหละที่เราทำกันนะครับมันมีอะไรบ้าง ก็ตั้งแต่บทที่ 1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาบริษัททบทวนวรรณกรรมบทที่ 3 วิธีวิจัยบทที่ 4 ผลการวิจัยบทที่ 5 บทสุดท้ายสรุปและอภิปรายผล นี่คือ Research methodology ครับที่อาจจะเหมือนกับแม่แบบหรือว่าแบบแผนในการนำไปสู่เป้าหมายของงานวิจัย เพราะฉะนั้นเพื่อเป็นการแก้ปัญหาเบื้องต้นก็จะมาดูเทคนิคในเรื่องของการเลือกหัวข้อวิจัยอย่างไร ไม่ได้ผลและตอบโจทย์กับตัวเอง ซึ่งก็มีเทคนิคง่ายๆ สามารถนำมาประยุกต์ด้วยกันได้ครับประมาณ 8 ขั้นตอน รายการที่จะเลือกหัวข้อวิจัยให้มันเหมาะสม อย่างแรกต้องดูว่างานวิจัยที่เราสนใจมันมีความจำเป็นและมีความน่าสนใจยังไง คำว่า งานวิจัยที่เราทำเนี่ยมันเป็นสิ่งที่จำเป็นไหมมันเป็นสิ่งที่คนอื่นต้องสนใจไหมหรือว่าถ้าจะให้ดี คือ คนส่วนใหญ่เป็นที่ตั้งว่ามีปัญหาอะไรบ้างที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขหรือเป็นสิ่งที่เราสนใจ เพราะว่าเราอยากจะทำเรื่องนี้อันนี้เป็นข้อแรกนะครับในเรื่องของความจำเป็นแล้วก็สนใจในเรื่องของปัญหาวิจัยที่เราต้องการนะครับ อย่างที่สอง มาดูว่ามันมีทฤษฎีพื้นฐานการวิจัยรองรับหรือเปล่า คำว่าทฤษฎีคือผลของการวิจัยที่น่าเชื่อถือครับเพราะว่ากว่าจะเป็นทฤษฎีได้…
-
แนวคิดเกี่ยวกับการวัดและข้อมูล
แนวคิดเกี่ยวกับการวัดและข้อมูล ในการวิจัยจำเป็นจะต้องใช้ข้อมูลควบคู่ไปกับแนวคิด โดยการเชื่องโยงแนวคิดเข้ากับข้อมูล ข้อมูลจึงเป็นสิ่งที่วัดได้ สิ่งที่นักวิจัยจะต้องทำความเข้าใจก็คือ แนวคิดในการวัด การวัด (Measurement) คือ กระบวนการที่ระบุความแตกต่างของคุณสมบัติของหน่วยวิเคราะห์ว่ามีความแตกต่างกันหรือไม่ แตกต่างกันในลักษณะใด และมากน้อยเพียงใด เงื่อนไขสำคัญในการวัดตัวแปรมี ๒ ประการ คือ นิยามตัวแปรหรือสิ่งที่ต้องการจะวัดให้ชัดเจน มีมาตราและหน่วยที่ใช้วัด (Unit of measurement) การวัดในเชิงคุณลักษณะ (Qualitative measurement) การวัดคุณภาพหรือกายภาพที่แสดงลักษณะของปรากฏการณ์ที่สังเกต เช่น ร้อน – เย็น, ดี – ไม่ดี, หนัก – เบา เป็นต้น การวัดในลักษณะนี้จึงเป็นการวัดในเชิงเปรียบเทียบ เพื่อแยกระดับของตัวแปรให้มีความแตกต่างกัน เช่น ความพึ่งพอใจ ทัศนคติ รสนิยม เป็นต้น การวัดในเชิงปริมาณ (Quantitative measurement) การจำแนกความแตกต่างที่สามารถบอกจำนวน หรือขนาดที่แตกต่างกันได้อย่างชัดเจน จึงสามารถนำจำนวนมารวมกันหรือกระจายเป็นจำนวนย่อย ๆ ได้ เช่น รายได้ของประชาชน ปริมาณเงินออม …
-
วิทยานิพนธ์ทํายังไง
คำถาม>> “ผมยังไม่มีความรู้เรื่องการทำวิทยานิพนธ์เลยครับ” “ควรเริ่มยังไงดี ผมคิดว่าจะไปหาวิทยานิพนธ์ทํายังไงของคนอื่นมาอ่านๆ ดู หัวข้อ วิธีการทำ มาเป็นแนวทาง ดีเปล่าครับ” ราชบัณฑิตยสภา กล่าวว่า วิทยานิพนธ์ ประกอบด้วยคำว่า วิทยา กับ นิพนธ์. คำว่า วิทยา ในที่นี้ใช้หมายถึง วิชาการ คือ ความรู้ที่เป็นศาสตร์ในสาขาใด ๆ ที่มีการศึกษากัน โดยเฉพาะในระดับบัณฑิตศึกษา. คำว่า นิพนธ์ แปลว่า แต่งหนังสือ. คำว่า วิทยานิพนธ์ จึงแปลว่า หนังสือที่แต่งเรื่องทางวิชาการ. ใช้เรียกผลงานของนักศึกษาระดับปริญญาโทหรือเอก ที่เขียนขึ้นเพื่อแสดงความรู้ที่ค้นคว้ามาได้ใหม่ เช่น นักศึกษาระดับปริญญาโทหรือปริญญาเอกต้องศึกษาค้นคว้าความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลึกซึ้ง เมื่อได้ความรู้ใหม่แล้วจึงเสนอเป็นวิทยานิพนธ์เพื่อขอรับปริญญามหาบัณฑิตหรือดุษฎีบัณฑิต วิทยานิพนธ์ในระดับโทและเอก จะแบ่งรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแตกต่างกันตามแต่ละมหาวิทยาลัยเป็นผู้จัดหลักสูตรขึ้นมา ส่วนแรกจะเป็นการเรียนการสอนในเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรที่ลงทะเบียน เช่น Research methodology พร้อมหาหัวข้อสำหรับทำวิทยานิพนธ์ ส่วนที่สองจะเป็นการทำวิทยานิพนธ์ทํายังไง จะต้องคัดเลือกสถานที่วิจัย ประชากร การกำหนดจำนวนตัวอย่างและสุ่มตัวอย่าง สถิติวิเคราะห์ที่ต้องใช้ เหตุผลที่ใช้ การพัฒนาเครื่องมือ ในการเก็บข้อมูล การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ และเหตุผลที่เลือกใช้วิธีนั้นๆ…
-
ความเชื่อถือได้ (Reliability) ในงานวิจัย
ความเชื่อถือได้ของมาตรวัด ( Reliability ) งานวิจัย คือ ความสอดคล้องกันของผลที่ได้จากการวัดแต่ละครั้ง >> ความเชื่อถือ Reliability โดยการวัดวิธีเดียวกันหลาย ๆ ครั้ง แล้ว นำผลการวัดมาหาความสัมพันธ์กันของความเชื่อถือ ค่าของความสัมพันธ์ของการวัด คือ ค่าบ่งชี้อัตราความเชื่อถือได้ วิธีหาค่าความเชื่อถือได้ของมาตรวัด / เครื่องมือ 1. วิธีการทดสอบแล้วทดสอบซ้ำ (Test and retest method) ความคงเส้นคงวาของคะแนนจากการวัดในช่วงเวลาที่ต่างกัน โดยวิธีสอบซ้ำด้วยแบบทดสอบเดิม การหาค่าความเชื่อมั่น : การทดสอบซ้ำใช้การคำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนที่วัดได้จากคนกลุ่มเดียวกัน ด้วยเครื่องมือเดียวกัน โดยทำการวัดสองครั้งในเวลาที่ต่างกัน ใช้มาตรวัดเดียวกันกับคนกลุ่มเดียวกันในเวลาต่างกัน ดูความสัมพันธ์ระหว่างผลการวัดทั้ง 2 ครั้ง ถ้ามีความสัมพันธ์สูง แสดงว่า มีความเชื่อมั่นสูง 2. วิธีวัดแบบที่ทดสอบแทนกันได้ (Alternate forms method) การทดสอบแบบใช้ข้อสอบเหมือนกัน Equivalent-Forms Reliability ความสอดคล้องกันของคะแนนจากการวัดในช่วงเวลาเดียวกันโดยใช้แบบทดสอบที่สมมูลกัน การหาค่าความเชื่อมั่น : การทดสอบแบบใช้ข้อสอบเหมือนกันใช้การคำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนที่วัดได้จากคนกลุ่มเดียวกันด้วยเครื่องมือ 2 ฉบับที่ทัดเทียมกัน…
-
แบบแผนการสุ่มตัวอย่าง มีอะไรบ้าง
แบบแผนการสุ่มตัวอย่าง ในการสุ่มตัวอย่างจากประชากร อาจแบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ การสุ่มตัวอย่างชนิดที่ไม่ทราบโอกาส หรือความน่าจะเป็นที่แต่ละหน่วยถูกเลือกขึ้นมาเป็นตัวอย่าง (Non – probability sampling) ไม่สามารถวัดควาถูกต้อง หรือ ความเชื่อถือได้ของค่าประมาณจากตัวอย่างนั้น ๆ การสุ่มตัวอย่างชนิดที่ทราบโอกาส หรือความน่าจะเป็นที่แต่ละหน่วยถูกเลือกขึ้นมาเป็นตัวอย่าง (Probability sampling) สามารถกำหนดได้ว่า หน่วยแต่ละหน่วยของประชากรมีโอกาสเท่าใด ที่จะถูกเลือกขึ้นมาเป็นตัวอย่าง การสุ่มตัวอย่างชนิดที่ไม่ทราบโอกาส – ไม่สามารถวัดควาถูกต้อง หรือ ความเชื่อถือได้ของค่าประมาณจากตัวอย่างนั้น ๆ ใช้ได้ผลดีในกรณีที่ลักษณะของสิ่งที่ศึกษาพบได้น้อยในประชากร และในกรณีที่ไม่สามารถกำหนดกรอบของหน่วยศึกษาใน แบบแผนการสุ่มตัวอย่าง ได้ – การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental sampling) – การสุ่มตัวอย่างแบบโควต้า (Quota sampling) – การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) – การสุ่มตัวอย่างแบบบอลล์หิมะ (Snowball sampling)…