Category: เรียนรู้การทำวิทยานิพนธ์

  • หลักในการออกแบบวิจัย

    หลักในการออกแบบวิจัย ประกอบไปด้วย หลักการควบคุมความแปรปรวนของตัวแปร (The “maxmincon” principle) Max : ทำให้ความแปรปรวนของ Dependent variable อันเนื่องจากตัวแปรทดลองหรือตัวแปรหลักมีค่าสูงสุด (Independent variable) Min : ทำให้ความแปรปรวนอันเนื่องจากความคลาดเคลื่อนมีค่าต่ำสุด Con : ควบคุมอิทธิพลของตัวแปรเกิน Maximization of experimental variance (MAX) เป็นความแปรปรวน/หรือความแตกต่างของค่าหรือคะแนนของตัวแปรตาม : อันเป็นผลมาจากความแตกต่างของตัวแปรอิสระ/ตัวแปรทดลอง/ตัวแปรหลัก ⇒ ผู้วิจัยต้องพยายามจัดให้ตัวแปรอิสระมีความแตกต่างกันมากที่สุดเพื่อจะได้ส่งผลไปสู่ตัวแปรตามซึ่งเป็นไปตามหลักในการออกแบบวิจัย Minimization of error variance (MIN) ขจัดความแปรปรวนที่เกิดจากการวัดและกลุ่มตัวอย่างที่แตกต่างกัน ⇒ ต้องสร้างเครื่องมือวัดให้มีความตรงและมีความเชื่อถือได้ (reliability) ⇒ ควบคุมสถานการณ์ทดลองให้เป็นระบบ ⇒ พิจารณาสถิติในการวิเคราะห์ให้เหมาะสมกับระดับการวัด Control of extraneous variable (CON) ควบคุมอิทธิพลของตัวแปรที่ไม้ได้ศึกษา ⇒ การสุ่ม/ป้องกันความแตกต่างอันเนื่องจากการเลือกตัวอย่าง (ตัวอย่างที่มาจากประชากรเดียวกัน จะมีคุณสมบัติเหมือนกัน) ⇒ นำมาเป็นตัวแปรอิสระด้วย…

  • วิธีการตรวจสอบสามเส้า (triangulation)

    วิธีการตรวจสอบสามเส้า คืออะไร             จากผู้วิจัยหรืออาจารย์สอนในระดับ ป.โท ป.เอก มักอ้าง วิธีการตรวจสอบสามเส้า (triangulation) คำว่า “การตรวจสอบสามเส้า” ตลอดเวลา หลัก 3 ประการของการตรวจสอบคุณภาพงานวิจัย และใช้เฉพาะการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี้             Triangulation หมายถึง การเปรียบเทียบข้อค้นพบ (Finding) ของปรากฏการณ์ที่ทำการศึกษา (Phenomenon) จากแหล่งและมุมมองที่แตกต่างกัน นักวิจัยจำนวนมากคาดหมายว่า Triangulation เป็นแนวทางการยืนยันความน่าเชื่อถือ (Credibility, validity) ของข้อมูลหรือสิ่งที่ค้นพบ             ข้อเท็จจริง คือ การตรวจสอบสามเส้า (triangulation) เป็นการใช้ระเบียบวิธีการวิจัยหลายอย่างในการศึกษาปรากฏการณ์เดียวกัน ไม่จำเป็นต้องมีสามข้อ มีมากกว่านี้ก็ได้ เช่น ระเบียบวิธีวิจัย (research method triangulation), ทฤษฎี (theoretical triangulation), ผู้วิจัย (researcher triangulation), ข้อมูล (data triangulation)…