Tag: หัวข้อวิจัย

  • ฐานข้อมูลเริ่มต้นสำหรับผู้ทำวิจัยและนักศึกษา

    การค้นหาฐานข้อมูลเริ่มต้นสำหรับผู้ทำวิจัยและนักศึกษา สำหรับฐานข้อมูล บทความ การตีพิมพ์ thesis วิทยานิพนธ์ เพื่อใช้ในการนำไปต่อยอด มี Journal หลัก 1000 ชื่อ โดยเกินครึ่งมีค่า Impact Factor การันตีคุณภาพ!สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ภายใต้เครือข่ายมหาวิทยาลัย ScienceDirect เป็นฐานข้อมูล ครอบคลุมสาขาวิชา Physical Sciences and Engineering, Life Sciences, Health Sciences, Social Sciences, and Humanities https://library.cm.mahidol.ac.th/…/90-sciencedirect… SpringerLink – เป็นฐานข้อมูลหนังสือและวารสารอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://library.cm.mahidol.ac.th/…/89-springer-link… Wiley Online LibraryWiley Online Library is the international scientific, technical, medical, and scholarly publishing business…

  • ปัญหาในการวิจัย (research problem)

    ก่อนเริ่มทำงานวิจัย เราต้องรู้ ปัญหาในการวิจัย (Research problem) เพราะฉะนั้นเรามาดูปัญหาในการวิจัยกันก่อน หมายถึงอะไร ปัญหาในการวิจัย หมายถึง สิ่งที่เกิดจากความสงสัยใคร่รู้คำตอบเปรียบเสมือนเป็นคำถามของการทำวิจัยเรื่องนั้นว่าเราต้องการหาคำตอบ อะไรคือการทำวิจัยในประเด็นใด จะหาความจริงจากการวิจัยหรือจากเรื่องนั้นได้อย่างไร อันนี้คือความหมายของ Research Problems ที่จะทำวิจัยตัวผู้วิจัยจึงมีแหล่งปัญหาที่จะทำวิจัยยังไงก็คือ จากประสบการณ์ จากความสนใจและจากการสังเกต จากการศึกษาทฤษฎีวรรณกรรมในสาขาที่เกี่ยวคือการทบทวนงานวิจัยที่เราต้องการที่จะศึกษาหรือที่เกี่ยวข้องกับงานของเราที่เราคิดไว้ แล้วก็ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ต่อไปก็คือ ผู้นำทางวิชาการ แหล่งทุนอุดหนุนการวิจัยผู้นำทางวิชาการก็คือเราต้องหาผู้นำทางวิชาการที่สามารถให้คำแนะนำ ในการที่จะพาเราไปสู่การคิดค้นการทำวิจัยได้แต่ก็แหล่งทุนทุนอุดหนุนการวิจัยซึ่งข้อนี้ก็ทุกท่านที่ทำวิจัยก็สามารถมองหาตรงนี้ ต่อไป ก็คือหน่วยงานที่ผู้วิจัยทำงานหรือการจะคิดปัญหาที่จะทำวิจัยสัมพันธ์กับหน่วยงานที่ตั้งใจทำงานก็คือเราจะคิดถึงใกล้ตัว ในแต่ละสาขาที่เราทำวิจัยเนี่ยเราก็ต้องมีความเชี่ยวชาญในที่ทำงานใช่ไหมคะแล้วเราจะเอาประสบการณ์ตรงนั้น ที่เราได้จากการสังเกตการเก็บข้อมูลมาสร้าง ในการทำวิจัยก็ได้ ในสร้างปัญหาหรือเราจะมองหาจากข่าวในสื่อมวลชน มาจากข้อเสนอแนะของผลการวิจัยที่ทำมาแล้วนึกได้มาจากการรีวิวหรือการทบทวนวรรณกรรมของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับในความสนใจของงานที่เราจะทำ ปัญหาที่ได้จากผู้อื่นก็อาจจะเป็นเราได้ discuz หรือเราได้พูดคุย กับอาจารย์ที่ปรึกษาหรือได้พูดคุยกับเพื่อนในหน่วยงานที่เราทำงาน เราก็สามารถหาปัญหาการทำวิจัยมาได้ จากผู้อื่นหรืออาจจะมีวิธีอีกหลายวิธีที่จะเป็นที่มาของปัญหาและการทำวิจัย ต่อไปลักษณะของการเขียนปัญหาการวิจัยก็คืออยู่ในรูปแบบประโยคคำถาม และไม่กำกวมสำหรับการแสดงความสัมพันธ์ของตัวแปรทั้งหมดในงานวิจัยของเรา สามารถตรวจสอบได้ เช่นตัวอย่างการเขียนรายงานการวิจัยนี้ ปัญหาการวิจัยชื่อเรื่องหัวข้อการวิจัยอย่างเช่นเพศมีความเกี่ยวข้องกับความสามารถในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษหรือไม่เป็นปัญหาการวิจัยชื่อหัวข้อการวิจัยแต่ก็ควรจะตั้งว่าการศึกษาความสามารถในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักศึกษาชายและหญิงในมหาวิทยาลัยมีเพศอยู่ใช่ไหมคะมีวิชาภาษาอังกฤษที่เราสนใจ เป็นตัวแปรที่ใช้ในการทำวิจัย อันนี้ก็คือตัวอย่างในการตั้งชื่อหัวข้อการวิจัยและปัญหาการวิจัย ประโยชน์ของปัญหาการวิจัยที่ชัดเจนถ้าเรามองเห็น ก็คือตั้งชื่อเรื่องการวิจัยหัวข้อการวิจัยได้ กำหนดวัตถุประสงค์ ออกแบบวางแผนการวิจัย การตั้งชื่อเรื่องหรือโครงการวิจัยจะต้องสอดคล้องและเกื้อกับปัญหาที่จะวิจัยชัดเจนนะที่เฉพาะปัญหาที่จะศึกษาควรขึ้นต้นชื่อเรื่องด้วยความสำคัญของปัญหาใช้ภาษาไม่กำกวม ใช้ภาษาที่กระชับและแทนใจความของปัญหาทั้งหมดได้ ตั้งก่อนหรือหลังก็ได้ เพราะฉะนั้นการที่ตั้งชื่อเรื่องโครงการวิจัยต่างๆ ในงานวิจัยของเราเนี่ยก็จะมีลักษณะดังที่กล่าวมา   👉รับฟังทาง…

  • ตรวจภาษาอังกฤษ ให้ตรงตามหลัก Grammar ด้วยเว็บไซต์

    https://www.grammarly.com/      เว็บไซต์ Grammarly เป็นแพลตฟอร์มที่ให้บริการเครื่องมือช่วยในการเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้ AI ในการตรวจสอบและแก้ไขไวยากรณ์ การสะกดคำ สไตล์การเขียน และการวิเคราะห์โทนของข้อความ นอกจากนี้ยังมีการตรวจสอบการลอกเลียนเนื้อหา (plagiarism) เพื่อให้ผู้ใช้มั่นใจว่าข้อความของตนมีความถูกต้องและเหมาะสมในการสื่อสาร ใช้งานได้บนหลากหลายแพลตฟอร์ม เช่น บราวเซอร์ แอปพลิเคชัน และโปรแกรมต่าง ๆ ซึ่งช่วยให้การเขียนมีประสิทธิภาพและชัดเจนยิ่งขึ้น     Grammarly มีประโยชน์ในหลายด้าน เช่น: การตรวจสอบไวยากรณ์และการสะกดคำ: ช่วยแก้ไขข้อผิดพลาดทางภาษา ทำให้ข้อความชัดเจนและเป็นมืออาชีพมากขึ้น การปรับปรุงสไตล์การเขียน: แนะนำการปรับปรุงโครงสร้างประโยคและคำศัพท์เพื่อให้ข้อความมีคุณภาพดีขึ้น การวิเคราะห์โทน: ตรวจสอบและแนะนำการปรับโทนการเขียนให้สอดคล้องกับเป้าหมายของการสื่อสาร การตรวจสอบการลอกเลียนเนื้อหา: ป้องกันการใช้เนื้อหาที่ซ้ำซ้อนหรือคล้ายคลึงกับผู้อื่น      Grammarly ช่วยให้ผู้ใช้สามารถพัฒนาทักษะการเขียนและทำให้ข้อความสื่อสารได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น. Email: thesisonline99@gmail.com ยินดีให้คำปรึกษาทุกท่านค่ะ คลิก : https://m.me/iamthesis/ Facebook : https://www.facebook.com/iamthesis Website: http://www.iamthesis.com/ ช่องทางในการติดตามความรู้จากเรา#บทความ #แปล #ปรึกษาวิทยานิพน์#เครื่องมือวิจัย #เทคนิคสำหรับวิจัย #งานวิจัย#การวิจัย…

  • ความเชื่อถือได้ (Reliability) ในงานวิจัย

    ความเชื่อถือได้ของมาตรวัด ( Reliability ) งานวิจัย คือ ความสอดคล้องกันของผลที่ได้จากการวัดแต่ละครั้ง >> ความเชื่อถือ Reliability โดยการวัดวิธีเดียวกันหลาย ๆ ครั้ง แล้ว นำผลการวัดมาหาความสัมพันธ์กันของความเชื่อถือ ค่าของความสัมพันธ์ของการวัด คือ ค่าบ่งชี้อัตราความเชื่อถือได้ วิธีหาค่าความเชื่อถือได้ของมาตรวัด / เครื่องมือ 1. วิธีการทดสอบแล้วทดสอบซ้ำ (Test and retest method) ความคงเส้นคงวาของคะแนนจากการวัดในช่วงเวลาที่ต่างกัน โดยวิธีสอบซ้ำด้วยแบบทดสอบเดิม การหาค่าความเชื่อมั่น : การทดสอบซ้ำใช้การคำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนที่วัดได้จากคนกลุ่มเดียวกัน ด้วยเครื่องมือเดียวกัน โดยทำการวัดสองครั้งในเวลาที่ต่างกัน ใช้มาตรวัดเดียวกันกับคนกลุ่มเดียวกันในเวลาต่างกัน ดูความสัมพันธ์ระหว่างผลการวัดทั้ง 2 ครั้ง ถ้ามีความสัมพันธ์สูง แสดงว่า มีความเชื่อมั่นสูง 2. วิธีวัดแบบที่ทดสอบแทนกันได้ (Alternate forms method) การทดสอบแบบใช้ข้อสอบเหมือนกัน Equivalent-Forms Reliability ความสอดคล้องกันของคะแนนจากการวัดในช่วงเวลาเดียวกันโดยใช้แบบทดสอบที่สมมูลกัน การหาค่าความเชื่อมั่น : การทดสอบแบบใช้ข้อสอบเหมือนกันใช้การคำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนที่วัดได้จากคนกลุ่มเดียวกันด้วยเครื่องมือ 2 ฉบับที่ทัดเทียมกัน…

  • Validity (ความถูกต้อง)ในงานวิจัย

    ความถูกต้อง Validity ในงานวิจัย Validity ประเภทของความถูกต้อง             หรือ การวัดต้องมีความถูกต้องเป็นคุณสมบัติที่สำคัญประการหนึ่งของ เครื่องมือวิจัยกล่าวคือ เป็นเครื่องมือที่สามารถวัดได้ตรงกับที่ต้องการจะวัด การตรวจสอบความตรงทำได้หลายวิธี ดังนี้ 1. ความถูกต้องเกี่ยวกับมาตรฐาน (Criterion–related validity) เป็นความถูกต้องที่สอดคล้องกับความคิด/มาตรฐาน ที่เราใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน เป็นการประเมินความตรงตามเกณฑ์ที่ได้มาตรฐานการตรวจสอบที่มุ่งหาความสัมพันธ์ระหว่างค่าที่วัดได้จากเครื่องมือที่สร้าง กับค่าที่วัดได้จากเกณฑ์ ความสำคัญอยู่ที่เกณฑ์ที่ผู้วิจัยเลือกว่าถูกต้องตามหลักทฤษฎี ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปหรือไม่ เกณฑ์ที่เลือกใช้มี 2 ลักษณะ ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่ต้องการให้เครื่องมือนั้นวัดได้ตรงตามเกณฑ์ กล่าวคือ 1.2.1) ตรงตามสภาพ (Concurrent Validity) หมายถึง ลักษณะที่เครื่องมือวัดได้มีความตรงตามสภาพความเป็นจริงโดยทั่ว ๆ ไปในเวลานั้น 1.2.2) ความตรงตามทำนาย (Predictive Validity) หมายถึง ลักษณะที่เครื่องมือวัดได้มีความตรงตามความจริงที่จะเกิดขึ้นตามมาภายหลัง หรือในอนาคต ซึ่งสามารถทำนายได้ 2. ความถูกต้องในเนื้อหา (Content validity) ความครอบคลุมของมาตรวัด/เครื่องมือในเรื่องที่เป็นเนื้อหาของสิ่งที่ต้องการวัด ความสามารถในการวัดกลุ่มเนื้อหาที่ต้องการจะวัดได้ครอบคลุมและเป็นตัวแทนของสิ่งที่ต้องการวัด เช่น วัดความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ หรือการวัดทักษะด้านต่าง ๆ เป็นการมองโดยส่วนรวมว่าเครื่องมือหรือชุดของคำถามหรือแบบวัดนั้น  ครอบคลุมเนื้อหาที่จะวัดได้ถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ …

  • แบบแผนการสุ่มตัวอย่าง มีอะไรบ้าง

    แบบแผนการสุ่มตัวอย่าง ในการสุ่มตัวอย่างจากประชากร อาจแบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ การสุ่มตัวอย่างชนิดที่ไม่ทราบโอกาส หรือความน่าจะเป็นที่แต่ละหน่วยถูกเลือกขึ้นมาเป็นตัวอย่าง (Non – probability  sampling) ไม่สามารถวัดควาถูกต้อง หรือ ความเชื่อถือได้ของค่าประมาณจากตัวอย่างนั้น ๆ  การสุ่มตัวอย่างชนิดที่ทราบโอกาส หรือความน่าจะเป็นที่แต่ละหน่วยถูกเลือกขึ้นมาเป็นตัวอย่าง (Probability  sampling) สามารถกำหนดได้ว่า หน่วยแต่ละหน่วยของประชากรมีโอกาสเท่าใด ที่จะถูกเลือกขึ้นมาเป็นตัวอย่าง  การสุ่มตัวอย่างชนิดที่ไม่ทราบโอกาส                 – ไม่สามารถวัดควาถูกต้อง หรือ ความเชื่อถือได้ของค่าประมาณจากตัวอย่างนั้น ๆ  ใช้ได้ผลดีในกรณีที่ลักษณะของสิ่งที่ศึกษาพบได้น้อยในประชากร  และในกรณีที่ไม่สามารถกำหนดกรอบของหน่วยศึกษาใน แบบแผนการสุ่มตัวอย่าง ได้             – การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental  sampling)             – การสุ่มตัวอย่างแบบโควต้า (Quota  sampling)             – การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive  sampling)             – การสุ่มตัวอย่างแบบบอลล์หิมะ (Snowball  sampling)…

  • การออกแบบวิจัย (Research Design)

    การออกแบบวิจัย (Research Design) หมายถึงอะไร แบบวิจัย หมายถึง ขอบข่ายของโปรแกรมการวิจัยที่แสดงถึงแบบจำลองของการจัดกระทำตัวแปรในการวิจัย โดยเฉพาะการจัดเก็บข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ได้คำตอบบรรลุจุดมุ่งหมายของการวิจัยอย่างถูกต้องสมบูรณ์ การกำหนดแบบวิจัยหรือแบบจำลองการจัดกระทำตัวแปรในการวิจัยให้เหมาะสมกับปัญหาที่มุ่งวิจัย/มากกว่าการวางแผนการวิจัยที่เขียนออกมาในรูปโครงการวิจัย จุดมุ่งหมายของการออกแบบวิจัย 1. เพื่อให้ได้คำตอบในปัญหาที่ทำการวิจัยอย่างถูกต้อง แม่นตรง และประหยัด 2. ควบคุมความแปรปรวนของตัวแปรในการวิจัย Email: thesisonline99@gmail.comยินดีให้คำปรึกษาทุกท่านค่ะ คลิก : https://bit.ly/2WO7oAvFacebook : https://www.facebook.com/iamthesisWebsite: http://www.iamthesis.com/ช่องทางในการติดตามความรู้จากเรา#บทความ #แปล #ปรึกษาวิทยานิพนธ์#เครื่องมือวิจัย #เทคนิคสำหรับวิจัย #งานวิจัย#การวิจัย #วิจัย

  • วิธีการตรวจสอบสามเส้า (triangulation)

    วิธีการตรวจสอบสามเส้า คืออะไร             จากผู้วิจัยหรืออาจารย์สอนในระดับ ป.โท ป.เอก มักอ้าง วิธีการตรวจสอบสามเส้า (triangulation) คำว่า “การตรวจสอบสามเส้า” ตลอดเวลา หลัก 3 ประการของการตรวจสอบคุณภาพงานวิจัย และใช้เฉพาะการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี้             Triangulation หมายถึง การเปรียบเทียบข้อค้นพบ (Finding) ของปรากฏการณ์ที่ทำการศึกษา (Phenomenon) จากแหล่งและมุมมองที่แตกต่างกัน นักวิจัยจำนวนมากคาดหมายว่า Triangulation เป็นแนวทางการยืนยันความน่าเชื่อถือ (Credibility, validity) ของข้อมูลหรือสิ่งที่ค้นพบ             ข้อเท็จจริง คือ การตรวจสอบสามเส้า (triangulation) เป็นการใช้ระเบียบวิธีการวิจัยหลายอย่างในการศึกษาปรากฏการณ์เดียวกัน ไม่จำเป็นต้องมีสามข้อ มีมากกว่านี้ก็ได้ เช่น ระเบียบวิธีวิจัย (research method triangulation), ทฤษฎี (theoretical triangulation), ผู้วิจัย (researcher triangulation), ข้อมูล (data triangulation)…