Tag: วิจัย

  • วิทยานิพนธ์ทํายังไง

    คำถาม>> “ผมยังไม่มีความรู้เรื่องการทำวิทยานิพนธ์เลยครับ” “ควรเริ่มยังไงดี ผมคิดว่าจะไปหาวิทยานิพนธ์ทํายังไงของคนอื่นมาอ่านๆ ดู หัวข้อ วิธีการทำ มาเป็นแนวทาง ดีเปล่าครับ” ราชบัณฑิตยสภา กล่าวว่า วิทยานิพนธ์ ประกอบด้วยคำว่า วิทยา กับ นิพนธ์. คำว่า วิทยา ในที่นี้ใช้หมายถึง วิชาการ คือ ความรู้ที่เป็นศาสตร์ในสาขาใด ๆ ที่มีการศึกษากัน โดยเฉพาะในระดับบัณฑิตศึกษา. คำว่า นิพนธ์ แปลว่า แต่งหนังสือ. คำว่า วิทยานิพนธ์ จึงแปลว่า หนังสือที่แต่งเรื่องทางวิชาการ. ใช้เรียกผลงานของนักศึกษาระดับปริญญาโทหรือเอก ที่เขียนขึ้นเพื่อแสดงความรู้ที่ค้นคว้ามาได้ใหม่ เช่น นักศึกษาระดับปริญญาโทหรือปริญญาเอกต้องศึกษาค้นคว้าความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลึกซึ้ง เมื่อได้ความรู้ใหม่แล้วจึงเสนอเป็นวิทยานิพนธ์เพื่อขอรับปริญญามหาบัณฑิตหรือดุษฎีบัณฑิต วิทยานิพนธ์ในระดับโทและเอก จะแบ่งรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแตกต่างกันตามแต่ละมหาวิทยาลัยเป็นผู้จัดหลักสูตรขึ้นมา ส่วนแรกจะเป็นการเรียนการสอนในเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรที่ลงทะเบียน เช่น Research methodology พร้อมหาหัวข้อสำหรับทำวิทยานิพนธ์ ส่วนที่สองจะเป็นการทำวิทยานิพนธ์ทํายังไง จะต้องคัดเลือกสถานที่วิจัย ประชากร การกำหนดจำนวนตัวอย่างและสุ่มตัวอย่าง สถิติวิเคราะห์ที่ต้องใช้ เหตุผลที่ใช้ การพัฒนาเครื่องมือ ในการเก็บข้อมูล การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ และเหตุผลที่เลือกใช้วิธีนั้นๆ…

  • ตรวจภาษาอังกฤษ ให้ตรงตามหลัก Grammar ด้วยเว็บไซต์

    https://www.grammarly.com/      เว็บไซต์ Grammarly เป็นแพลตฟอร์มที่ให้บริการเครื่องมือช่วยในการเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้ AI ในการตรวจสอบและแก้ไขไวยากรณ์ การสะกดคำ สไตล์การเขียน และการวิเคราะห์โทนของข้อความ นอกจากนี้ยังมีการตรวจสอบการลอกเลียนเนื้อหา (plagiarism) เพื่อให้ผู้ใช้มั่นใจว่าข้อความของตนมีความถูกต้องและเหมาะสมในการสื่อสาร ใช้งานได้บนหลากหลายแพลตฟอร์ม เช่น บราวเซอร์ แอปพลิเคชัน และโปรแกรมต่าง ๆ ซึ่งช่วยให้การเขียนมีประสิทธิภาพและชัดเจนยิ่งขึ้น     Grammarly มีประโยชน์ในหลายด้าน เช่น: การตรวจสอบไวยากรณ์และการสะกดคำ: ช่วยแก้ไขข้อผิดพลาดทางภาษา ทำให้ข้อความชัดเจนและเป็นมืออาชีพมากขึ้น การปรับปรุงสไตล์การเขียน: แนะนำการปรับปรุงโครงสร้างประโยคและคำศัพท์เพื่อให้ข้อความมีคุณภาพดีขึ้น การวิเคราะห์โทน: ตรวจสอบและแนะนำการปรับโทนการเขียนให้สอดคล้องกับเป้าหมายของการสื่อสาร การตรวจสอบการลอกเลียนเนื้อหา: ป้องกันการใช้เนื้อหาที่ซ้ำซ้อนหรือคล้ายคลึงกับผู้อื่น      Grammarly ช่วยให้ผู้ใช้สามารถพัฒนาทักษะการเขียนและทำให้ข้อความสื่อสารได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น. Email: thesisonline99@gmail.com ยินดีให้คำปรึกษาทุกท่านค่ะ คลิก : https://m.me/iamthesis/ Facebook : https://www.facebook.com/iamthesis Website: http://www.iamthesis.com/ ช่องทางในการติดตามความรู้จากเรา#บทความ #แปล #ปรึกษาวิทยานิพน์#เครื่องมือวิจัย #เทคนิคสำหรับวิจัย #งานวิจัย#การวิจัย…

  • ความเชื่อถือได้ (Reliability) ในงานวิจัย

    ความเชื่อถือได้ของมาตรวัด ( Reliability ) งานวิจัย คือ ความสอดคล้องกันของผลที่ได้จากการวัดแต่ละครั้ง >> ความเชื่อถือ Reliability โดยการวัดวิธีเดียวกันหลาย ๆ ครั้ง แล้ว นำผลการวัดมาหาความสัมพันธ์กันของความเชื่อถือ ค่าของความสัมพันธ์ของการวัด คือ ค่าบ่งชี้อัตราความเชื่อถือได้ วิธีหาค่าความเชื่อถือได้ของมาตรวัด / เครื่องมือ 1. วิธีการทดสอบแล้วทดสอบซ้ำ (Test and retest method) ความคงเส้นคงวาของคะแนนจากการวัดในช่วงเวลาที่ต่างกัน โดยวิธีสอบซ้ำด้วยแบบทดสอบเดิม การหาค่าความเชื่อมั่น : การทดสอบซ้ำใช้การคำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนที่วัดได้จากคนกลุ่มเดียวกัน ด้วยเครื่องมือเดียวกัน โดยทำการวัดสองครั้งในเวลาที่ต่างกัน ใช้มาตรวัดเดียวกันกับคนกลุ่มเดียวกันในเวลาต่างกัน ดูความสัมพันธ์ระหว่างผลการวัดทั้ง 2 ครั้ง ถ้ามีความสัมพันธ์สูง แสดงว่า มีความเชื่อมั่นสูง 2. วิธีวัดแบบที่ทดสอบแทนกันได้ (Alternate forms method) การทดสอบแบบใช้ข้อสอบเหมือนกัน Equivalent-Forms Reliability ความสอดคล้องกันของคะแนนจากการวัดในช่วงเวลาเดียวกันโดยใช้แบบทดสอบที่สมมูลกัน การหาค่าความเชื่อมั่น : การทดสอบแบบใช้ข้อสอบเหมือนกันใช้การคำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนที่วัดได้จากคนกลุ่มเดียวกันด้วยเครื่องมือ 2 ฉบับที่ทัดเทียมกัน…

  • Validity (ความถูกต้อง)ในงานวิจัย

    ความถูกต้อง Validity ในงานวิจัย Validity ประเภทของความถูกต้อง             หรือ การวัดต้องมีความถูกต้องเป็นคุณสมบัติที่สำคัญประการหนึ่งของ เครื่องมือวิจัยกล่าวคือ เป็นเครื่องมือที่สามารถวัดได้ตรงกับที่ต้องการจะวัด การตรวจสอบความตรงทำได้หลายวิธี ดังนี้ 1. ความถูกต้องเกี่ยวกับมาตรฐาน (Criterion–related validity) เป็นความถูกต้องที่สอดคล้องกับความคิด/มาตรฐาน ที่เราใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน เป็นการประเมินความตรงตามเกณฑ์ที่ได้มาตรฐานการตรวจสอบที่มุ่งหาความสัมพันธ์ระหว่างค่าที่วัดได้จากเครื่องมือที่สร้าง กับค่าที่วัดได้จากเกณฑ์ ความสำคัญอยู่ที่เกณฑ์ที่ผู้วิจัยเลือกว่าถูกต้องตามหลักทฤษฎี ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปหรือไม่ เกณฑ์ที่เลือกใช้มี 2 ลักษณะ ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่ต้องการให้เครื่องมือนั้นวัดได้ตรงตามเกณฑ์ กล่าวคือ 1.2.1) ตรงตามสภาพ (Concurrent Validity) หมายถึง ลักษณะที่เครื่องมือวัดได้มีความตรงตามสภาพความเป็นจริงโดยทั่ว ๆ ไปในเวลานั้น 1.2.2) ความตรงตามทำนาย (Predictive Validity) หมายถึง ลักษณะที่เครื่องมือวัดได้มีความตรงตามความจริงที่จะเกิดขึ้นตามมาภายหลัง หรือในอนาคต ซึ่งสามารถทำนายได้ 2. ความถูกต้องในเนื้อหา (Content validity) ความครอบคลุมของมาตรวัด/เครื่องมือในเรื่องที่เป็นเนื้อหาของสิ่งที่ต้องการวัด ความสามารถในการวัดกลุ่มเนื้อหาที่ต้องการจะวัดได้ครอบคลุมและเป็นตัวแทนของสิ่งที่ต้องการวัด เช่น วัดความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ หรือการวัดทักษะด้านต่าง ๆ เป็นการมองโดยส่วนรวมว่าเครื่องมือหรือชุดของคำถามหรือแบบวัดนั้น  ครอบคลุมเนื้อหาที่จะวัดได้ถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ …

  • แบบแผนการสุ่มตัวอย่าง มีอะไรบ้าง

    แบบแผนการสุ่มตัวอย่าง ในการสุ่มตัวอย่างจากประชากร อาจแบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ การสุ่มตัวอย่างชนิดที่ไม่ทราบโอกาส หรือความน่าจะเป็นที่แต่ละหน่วยถูกเลือกขึ้นมาเป็นตัวอย่าง (Non – probability  sampling) ไม่สามารถวัดควาถูกต้อง หรือ ความเชื่อถือได้ของค่าประมาณจากตัวอย่างนั้น ๆ  การสุ่มตัวอย่างชนิดที่ทราบโอกาส หรือความน่าจะเป็นที่แต่ละหน่วยถูกเลือกขึ้นมาเป็นตัวอย่าง (Probability  sampling) สามารถกำหนดได้ว่า หน่วยแต่ละหน่วยของประชากรมีโอกาสเท่าใด ที่จะถูกเลือกขึ้นมาเป็นตัวอย่าง  การสุ่มตัวอย่างชนิดที่ไม่ทราบโอกาส                 – ไม่สามารถวัดควาถูกต้อง หรือ ความเชื่อถือได้ของค่าประมาณจากตัวอย่างนั้น ๆ  ใช้ได้ผลดีในกรณีที่ลักษณะของสิ่งที่ศึกษาพบได้น้อยในประชากร  และในกรณีที่ไม่สามารถกำหนดกรอบของหน่วยศึกษาใน แบบแผนการสุ่มตัวอย่าง ได้             – การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental  sampling)             – การสุ่มตัวอย่างแบบโควต้า (Quota  sampling)             – การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive  sampling)             – การสุ่มตัวอย่างแบบบอลล์หิมะ (Snowball  sampling)…

  • การออกแบบวิจัย (Research Design)

    การออกแบบวิจัย (Research Design) หมายถึงอะไร แบบวิจัย หมายถึง ขอบข่ายของโปรแกรมการวิจัยที่แสดงถึงแบบจำลองของการจัดกระทำตัวแปรในการวิจัย โดยเฉพาะการจัดเก็บข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ได้คำตอบบรรลุจุดมุ่งหมายของการวิจัยอย่างถูกต้องสมบูรณ์ การกำหนดแบบวิจัยหรือแบบจำลองการจัดกระทำตัวแปรในการวิจัยให้เหมาะสมกับปัญหาที่มุ่งวิจัย/มากกว่าการวางแผนการวิจัยที่เขียนออกมาในรูปโครงการวิจัย จุดมุ่งหมายของการออกแบบวิจัย 1. เพื่อให้ได้คำตอบในปัญหาที่ทำการวิจัยอย่างถูกต้อง แม่นตรง และประหยัด 2. ควบคุมความแปรปรวนของตัวแปรในการวิจัย Email: thesisonline99@gmail.comยินดีให้คำปรึกษาทุกท่านค่ะ คลิก : https://bit.ly/2WO7oAvFacebook : https://www.facebook.com/iamthesisWebsite: http://www.iamthesis.com/ช่องทางในการติดตามความรู้จากเรา#บทความ #แปล #ปรึกษาวิทยานิพนธ์#เครื่องมือวิจัย #เทคนิคสำหรับวิจัย #งานวิจัย#การวิจัย #วิจัย

  • เกณฑ์ใน การพิจารณาประสิทธิภาพแบบวิจัย

    เกณฑ์ในการพิจารณาประสิทธิภาพแบบวิจัย มุ่งสู่คำตอบในปัญหาวิจัย ควบคุมความแปรปรวนได้ (MAX , MIN , CON)              มีความตรงภายใน (Internal validity)            มีความตรงภายนอก (External validity) ความตรงภายใน (Internal validity) ผลการวิจัย เป็นผลอันเนื่องจากตัวแปรอิสระ/ตัวแปรทดลอง หรือตัวแปรหลัก มากกว่าตัวแปรอื่นที่ไม่ได้ศึกษา ตามเกณฑ์ใน การพิจารณาประสิทธิภาพแบบวิจัย ตัวแปรเกินที่อาจมีผลกระทบต่อความตรงภายใน History : เหตุการณ์ที่เกิดระหว่างการทดลองมีผลต่อการทดลอง Maturation : กระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในของผู้รับการทดลอง   Testing : ปฏิกิริยาที่เกิดจากการวัดครั้งแรก Instrumentation : การเปลี่ยนแปลงของเครื่องมือวัด/ผู้ทดลอง statistical regression : การถดถอยทางสถิติของคนที่ได้คะแนนสูงสุด/ต่ำสุดในครั้งต่อไป Selection : ความลำเอียงจากการเลือกกลุ่มตัวอย่าง   Experimental Mortality : การสูญเสียตัวอย่างระหว่างทดลอง Selection-maturation interaction :…

  • หลักในการออกแบบวิจัย

    หลักในการออกแบบวิจัย ประกอบไปด้วย หลักการควบคุมความแปรปรวนของตัวแปร (The “maxmincon” principle) Max : ทำให้ความแปรปรวนของ Dependent variable อันเนื่องจากตัวแปรทดลองหรือตัวแปรหลักมีค่าสูงสุด (Independent variable) Min : ทำให้ความแปรปรวนอันเนื่องจากความคลาดเคลื่อนมีค่าต่ำสุด Con : ควบคุมอิทธิพลของตัวแปรเกิน Maximization of experimental variance (MAX) เป็นความแปรปรวน/หรือความแตกต่างของค่าหรือคะแนนของตัวแปรตาม : อันเป็นผลมาจากความแตกต่างของตัวแปรอิสระ/ตัวแปรทดลอง/ตัวแปรหลัก ⇒ ผู้วิจัยต้องพยายามจัดให้ตัวแปรอิสระมีความแตกต่างกันมากที่สุดเพื่อจะได้ส่งผลไปสู่ตัวแปรตามซึ่งเป็นไปตามหลักในการออกแบบวิจัย Minimization of error variance (MIN) ขจัดความแปรปรวนที่เกิดจากการวัดและกลุ่มตัวอย่างที่แตกต่างกัน ⇒ ต้องสร้างเครื่องมือวัดให้มีความตรงและมีความเชื่อถือได้ (reliability) ⇒ ควบคุมสถานการณ์ทดลองให้เป็นระบบ ⇒ พิจารณาสถิติในการวิเคราะห์ให้เหมาะสมกับระดับการวัด Control of extraneous variable (CON) ควบคุมอิทธิพลของตัวแปรที่ไม้ได้ศึกษา ⇒ การสุ่ม/ป้องกันความแตกต่างอันเนื่องจากการเลือกตัวอย่าง (ตัวอย่างที่มาจากประชากรเดียวกัน จะมีคุณสมบัติเหมือนกัน) ⇒ นำมาเป็นตัวแปรอิสระด้วย…

  • วิธีการตรวจสอบสามเส้า (triangulation)

    วิธีการตรวจสอบสามเส้า คืออะไร             จากผู้วิจัยหรืออาจารย์สอนในระดับ ป.โท ป.เอก มักอ้าง วิธีการตรวจสอบสามเส้า (triangulation) คำว่า “การตรวจสอบสามเส้า” ตลอดเวลา หลัก 3 ประการของการตรวจสอบคุณภาพงานวิจัย และใช้เฉพาะการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี้             Triangulation หมายถึง การเปรียบเทียบข้อค้นพบ (Finding) ของปรากฏการณ์ที่ทำการศึกษา (Phenomenon) จากแหล่งและมุมมองที่แตกต่างกัน นักวิจัยจำนวนมากคาดหมายว่า Triangulation เป็นแนวทางการยืนยันความน่าเชื่อถือ (Credibility, validity) ของข้อมูลหรือสิ่งที่ค้นพบ             ข้อเท็จจริง คือ การตรวจสอบสามเส้า (triangulation) เป็นการใช้ระเบียบวิธีการวิจัยหลายอย่างในการศึกษาปรากฏการณ์เดียวกัน ไม่จำเป็นต้องมีสามข้อ มีมากกว่านี้ก็ได้ เช่น ระเบียบวิธีวิจัย (research method triangulation), ทฤษฎี (theoretical triangulation), ผู้วิจัย (researcher triangulation), ข้อมูล (data triangulation)…