Tag: การค้นคว้าอิสระ

  • เรื่องที่ 1 แนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัย

    คำว่า การวิจัยหลายคนคงคิดว่าเป็นเรื่องยาก แต่ถ้าพวกเราลองทำความเข้าใจกับคำว่าการวิจัยแล้ว สำหรับการนำไปใช้ในหาศึกษาทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็น สารนิพนธ์, การค้นคว้าอิสระ, ผมเชื่อว่าการวิจัยก็คงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปผมเองเป็นคนนึงที่พอศึกษาเรื่องการวิจัยมาพอสมควรกล้ารับประกันได้ว่าการวิจัยไม่ใช่เรื่องยากแล้วลองมาฟังดูไหมครับว่าการวิจัยที่บอกว่าไม่ใช่เรื่องยากนั้นเป็นอย่างไรในส่วนของนิยมกันที่ใจนั้นเราจะพบว่า การวิจัยนั้นเป็นกระบวนการค้นหาความรู้ความจริงด้วยวิธีการที่มีระบบเชื่อถือได้ เช่น reliability, การตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า, validity เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบของการวิจัยครั้งนี้ในการได้มาซึ่งกำหนดการวิจัยนั้นเราจะอาศัยกระบวนการทางด้านวิทยาศาสตร์ในส่วนของกระบวนการวิจัยนั้นจะประกอบด้วย ขั้นตอนที่สำคัญอยู่ 7 ขั้นตอนในส่วนของขั้นตอนแรกเป็นการกำหนดปัญหาการวิจัย ขั้นที่ 2 เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์ ขั้นตอนที่ 3 เป็นการทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องใน ขั้นตอนที่ 4 เป็นการออกแบบการวิจัย ขั้นตอนที่ 5 เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลขั้นที่ 6 เป็นการวิเคราะห์ข้อมูล และขั้นตอนที่ 7 เป็นการเขียนรายงานการวิจัย ขั้นตอนที่ 1 เป็นการกำหนดปัญหาวิจัยซึ่งเป็นขั้นตอนแรกของการวิจัยที่มีความสำคัญมากผู้วิจัยต้องค้นหาและตัดสินใจที่จะเลือกปัญหาวิจัยซึ่งปัญหาวิจัยที่ดีต้องมีความชัดเจนโดยกำหนดจากกรอบแนวคิดทางทฤษฎีและพัฒนามาสู่กรอบแนวคิดในการวิจัยจนได้ปัญหาวิจัยที่มีความเหมาะสม ขั้นตอนที่ 2 เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยเป็นขั้นตอนที่ผู้วิจัยต้องกำหนดวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของการวิจัยซึ่งจะต้องสอดคล้องสัมพันธ์กับปัญหาวิจัย ขั้นตอนที่ 3 เป็นการทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นขั้นตอนไม่ต้องให้ความสำคัญเพราะเป็นขั้นตอนที่ผู้วิจัยจะดำเนินการตั้งแต่เริ่มจนกระทั่งเสร็จสิ้นกระบวนการวิจัยเป็นการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาวิจัยซึ่งผู้วิจัยดำเนินการวิจัยครั้งนี้ในการทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องนั้นเราจะสามารถเริ่มได้ตั้งแต่การค้นหาเพื่อกำหนดปัญหาวิจัยการกำหนดกรอบแนวคิดทฤษฎีการวิจัยการกำหนดวัตถุประสงค์และสมมติฐานการวิจัยการออกแบบการวิจัยไม่ว่าจะเป็นการออกแบบเพื่อกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่างการออกแบบเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยการออกแบบเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลการอภิปรายผลการวิเคราะห์ข้อมูลจนกระทั่งการเขียนรายงานเพื่อการเผยแพร่ผลการวิจัย ขั้นตอนที่ 4 เป็นการออกแบบการวิจัยเป็นขั้นตอนที่ผู้วิจัยดำเนินการวางแผนเพื่อกำหนดวิธีดำเนินการวิจัยโดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนที่สำคัญประกอบด้วยการออกแบบการสุ่มตัวอย่างการออกแบบการวัดตัวแปรและการออกแบบการวิเคราะห์ข้อมูลโดยมีอะไรดังต่อไปนี้ในส่วนของการออกแบบการสุ่มตัวอย่างนั้นเป็นการออกแบบที่ผู้วิจัยดำเนินการสุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นตัวแทนของประชากรโดยใช้กระบวนการสุ่มที่มีความเหมาะสมและมีขนาดที่เหมาะสมและเป็นตัวแทนที่ดีของประชากรในส่วนของการออกแบบการวัดตัวแปรนั้นเป็นการออกแบบเครื่องมือเพื่อสำหรับวัตถุลักษณะตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยได้อย่างเหมาะสมทั้งนี้จะต้องมีการสร้างและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยให้มีประสิทธิภาพน่าเชื่อถือในส่วนของการออกแบบการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการออกแบบการวิเคราะห์ข้อมูลและเลือกใช้สถิติให้เหมาะสมกับปัญหาวิจัย ในขั้นตอนที่ 5 เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งเป็นขั้นตอนที่ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลตามที่ได้ออกแบบไว้โดยนำเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยไปเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ได้มาโดยการสุ่ม ขั้นตอนที่ 6 เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นขั้นตอนที่ผู้วิจัยดำเนินการนำข้อมูลที่ผ่านการเก็บรวบรวมข้อมูลมาแล้วมาดำเนินการวิเคราะห์มาดำเนินการประมวลผลด้วยวิธีการทางสถิติที่ได้ออกแบบไว้เพื่อตอบปัญหาวิจัยและตอบวัตถุประสงค์การวิจัยให้ครบถ้วนและในขั้นตอนสุดท้าย เป็นขั้นตอนที่…

  • ปัญหาในการวิจัย (research problem)

    ก่อนเริ่มทำงานวิจัย เราต้องรู้ ปัญหาในการวิจัย (Research problem) เพราะฉะนั้นเรามาดูปัญหาในการวิจัยกันก่อน หมายถึงอะไร ปัญหาในการวิจัย หมายถึง สิ่งที่เกิดจากความสงสัยใคร่รู้คำตอบเปรียบเสมือนเป็นคำถามของการทำวิจัยเรื่องนั้นว่าเราต้องการหาคำตอบ อะไรคือการทำวิจัยในประเด็นใด จะหาความจริงจากการวิจัยหรือจากเรื่องนั้นได้อย่างไร อันนี้คือความหมายของ Research Problems ที่จะทำวิจัยตัวผู้วิจัยจึงมีแหล่งปัญหาที่จะทำวิจัยยังไงก็คือ จากประสบการณ์ จากความสนใจและจากการสังเกต จากการศึกษาทฤษฎีวรรณกรรมในสาขาที่เกี่ยวคือการทบทวนงานวิจัยที่เราต้องการที่จะศึกษาหรือที่เกี่ยวข้องกับงานของเราที่เราคิดไว้ แล้วก็ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ต่อไปก็คือ ผู้นำทางวิชาการ แหล่งทุนอุดหนุนการวิจัยผู้นำทางวิชาการก็คือเราต้องหาผู้นำทางวิชาการที่สามารถให้คำแนะนำ ในการที่จะพาเราไปสู่การคิดค้นการทำวิจัยได้แต่ก็แหล่งทุนทุนอุดหนุนการวิจัยซึ่งข้อนี้ก็ทุกท่านที่ทำวิจัยก็สามารถมองหาตรงนี้ ต่อไป ก็คือหน่วยงานที่ผู้วิจัยทำงานหรือการจะคิดปัญหาที่จะทำวิจัยสัมพันธ์กับหน่วยงานที่ตั้งใจทำงานก็คือเราจะคิดถึงใกล้ตัว ในแต่ละสาขาที่เราทำวิจัยเนี่ยเราก็ต้องมีความเชี่ยวชาญในที่ทำงานใช่ไหมคะแล้วเราจะเอาประสบการณ์ตรงนั้น ที่เราได้จากการสังเกตการเก็บข้อมูลมาสร้าง ในการทำวิจัยก็ได้ ในสร้างปัญหาหรือเราจะมองหาจากข่าวในสื่อมวลชน มาจากข้อเสนอแนะของผลการวิจัยที่ทำมาแล้วนึกได้มาจากการรีวิวหรือการทบทวนวรรณกรรมของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับในความสนใจของงานที่เราจะทำ ปัญหาที่ได้จากผู้อื่นก็อาจจะเป็นเราได้ discuz หรือเราได้พูดคุย กับอาจารย์ที่ปรึกษาหรือได้พูดคุยกับเพื่อนในหน่วยงานที่เราทำงาน เราก็สามารถหาปัญหาการทำวิจัยมาได้ จากผู้อื่นหรืออาจจะมีวิธีอีกหลายวิธีที่จะเป็นที่มาของปัญหาและการทำวิจัย ต่อไปลักษณะของการเขียนปัญหาการวิจัยก็คืออยู่ในรูปแบบประโยคคำถาม และไม่กำกวมสำหรับการแสดงความสัมพันธ์ของตัวแปรทั้งหมดในงานวิจัยของเรา สามารถตรวจสอบได้ เช่นตัวอย่างการเขียนรายงานการวิจัยนี้ ปัญหาการวิจัยชื่อเรื่องหัวข้อการวิจัยอย่างเช่นเพศมีความเกี่ยวข้องกับความสามารถในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษหรือไม่เป็นปัญหาการวิจัยชื่อหัวข้อการวิจัยแต่ก็ควรจะตั้งว่าการศึกษาความสามารถในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักศึกษาชายและหญิงในมหาวิทยาลัยมีเพศอยู่ใช่ไหมคะมีวิชาภาษาอังกฤษที่เราสนใจ เป็นตัวแปรที่ใช้ในการทำวิจัย อันนี้ก็คือตัวอย่างในการตั้งชื่อหัวข้อการวิจัยและปัญหาการวิจัย ประโยชน์ของปัญหาการวิจัยที่ชัดเจนถ้าเรามองเห็น ก็คือตั้งชื่อเรื่องการวิจัยหัวข้อการวิจัยได้ กำหนดวัตถุประสงค์ ออกแบบวางแผนการวิจัย การตั้งชื่อเรื่องหรือโครงการวิจัยจะต้องสอดคล้องและเกื้อกับปัญหาที่จะวิจัยชัดเจนนะที่เฉพาะปัญหาที่จะศึกษาควรขึ้นต้นชื่อเรื่องด้วยความสำคัญของปัญหาใช้ภาษาไม่กำกวม ใช้ภาษาที่กระชับและแทนใจความของปัญหาทั้งหมดได้ ตั้งก่อนหรือหลังก็ได้ เพราะฉะนั้นการที่ตั้งชื่อเรื่องโครงการวิจัยต่างๆ ในงานวิจัยของเราเนี่ยก็จะมีลักษณะดังที่กล่าวมา   👉รับฟังทาง…

  • รวมเว็บไซต์วิทยานิพนธ์ งานวิจัย วารสาร และหนังสือ ที่ดาวน์โหลดฟรี

    1. ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasat University Theses)http://digital.library.tu.ac.th/…/Search/index/collection:20 2. คลังปัญญาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR)https://cuir.car.chula.ac.th 3. ฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยรามคำแหงhttp://library.lib.ru.ac.th/screens/mainmenu_thx.html 4. ฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยนเรศวร NU Digital Repositoryhttp://nuir.lib.nu.ac.th/dspace 5. ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่Facebook ไม่ให้โพสลิงค์ รบกวนค้นหาคำว่า CMU e-Thesis ใน Google นะครับ 6. ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต (DPU e-Theses)https://lib.dpu.ac.th/page.php?id=6488 7. ฐานข้อมูล Dspace มหาวิทยาลัยศิลปากรhttp://www.graduate.su.ac.th/dspace/index.php 8. คลังปัญญามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ PSU Knowledge Bank มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์http://kb.psu.ac.th/psukb 9. ฐานข้อมูลสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)http://libsearch.nida.ac.th 10. ฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชhttp://ird.stou.ac.th/dbresearch/index.php 11. Thai…

  • สารนิพนธ์ ต่างจาก วิทยานิพนธ์ อย่างไร

    วิทยานิพนธ์ (เข้มข้น) คือ งานวิทยานิพนธ์หรืองานวิจัยระดับอุดมศึกษา อันเป็นผลงานจากการค้นคว้าวิจัย เป็นงานเขียนวิชาการที่นักศึกษาทุกคนโดยเฉพาะในระดับปริญญาโทและเอกต้องจัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการจบการศึกษา รับปริญญา เพื่อเป็นเกียรติคุณและ เป็นไปเบิกทางในสายอาชีพต่างๆ ที่ตนเองสนใจในอนาคต สารนิพนธ์ คือ การค้นคว้าอิสระ (Independent Study) หมายถึง การศึกษาวิจัยอิสระ โดยอาศัยการกลั่นกรองความรู้และสาระในเนื้อหาต่างๆ ที่มีผู้ศึกษาวิจัยไว้แล้ว การค้นคว้าอิสระที่ได้มาจากการอ่าน การรวบรวมวิเคราะห์ของผู้เขียนแล้วนำมาสรุปผลให้เป็นเรื่องเดียวกัน สารนิพนธ์ต่างจากวิทยานิพนธ์ ในเรื่องของแนวคิด (concept) หรือตัวแปร (variable) ตัวเดียว ใช้สถิติหรือการวิเคราะห์อย่างง่าย และจำกัดบริบทที่ศึกษา ระยะเวลาที่ชัดเจน แต่จะไม่เข้มข้นเรื่องคุณภาพของความถูกต้อง (validity) และความเชื่อมั่น (reliability มากกว่า) เท่ากับทางด้านวิทยานิพนธ์ ดังนั้นการตัดสินใจเลือกว่า จะทำสารนิพนธ์หรือวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท มีปัจจัยสำคัญในการเลือกสารนิพนธ์ ข้อดีคือ ไม่ยุ่งยาก เป็นการเรียนการสอนของหลักสูตร แต่ข้อเสียคือนักศึกษาไม่มีประสบการณ์เต็มที่ในการเขียนงานวิจัย อาจจะไม่สามารถใช้ในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นไป หรืออาจจะมีปัญหาไม่ได้รับการยอมรับ เมื่อเราทำหน้าที่ทางวิชาการ เช่น อาจารย์ ครู ในทางตรงกันข้ามกับการเลือกทำวิทยานิพนธ์มีข้อดีคือทำให้นักศึกษามีความรู้ เป็นที่ยอมรับทางวิชาการ และมีโอกาสเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกที่ตั้งมาตรฐานการสอบคัดเลือก แต่จะใช้ระยะเวลาสำหรับการศึกษาเกินกว่าหลักสูตรกำหนดเป็นปกติ การทำงานวิจัยนักศึกษาต้องตั้งโจทย์หรือคำถามการวิจัย (research…

  • แบบแผนการสุ่มตัวอย่าง มีอะไรบ้าง

    แบบแผนการสุ่มตัวอย่าง ในการสุ่มตัวอย่างจากประชากร อาจแบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ การสุ่มตัวอย่างชนิดที่ไม่ทราบโอกาส หรือความน่าจะเป็นที่แต่ละหน่วยถูกเลือกขึ้นมาเป็นตัวอย่าง (Non – probability  sampling) ไม่สามารถวัดควาถูกต้อง หรือ ความเชื่อถือได้ของค่าประมาณจากตัวอย่างนั้น ๆ  การสุ่มตัวอย่างชนิดที่ทราบโอกาส หรือความน่าจะเป็นที่แต่ละหน่วยถูกเลือกขึ้นมาเป็นตัวอย่าง (Probability  sampling) สามารถกำหนดได้ว่า หน่วยแต่ละหน่วยของประชากรมีโอกาสเท่าใด ที่จะถูกเลือกขึ้นมาเป็นตัวอย่าง  การสุ่มตัวอย่างชนิดที่ไม่ทราบโอกาส                 – ไม่สามารถวัดควาถูกต้อง หรือ ความเชื่อถือได้ของค่าประมาณจากตัวอย่างนั้น ๆ  ใช้ได้ผลดีในกรณีที่ลักษณะของสิ่งที่ศึกษาพบได้น้อยในประชากร  และในกรณีที่ไม่สามารถกำหนดกรอบของหน่วยศึกษาใน แบบแผนการสุ่มตัวอย่าง ได้             – การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental  sampling)             – การสุ่มตัวอย่างแบบโควต้า (Quota  sampling)             – การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive  sampling)             – การสุ่มตัวอย่างแบบบอลล์หิมะ (Snowball  sampling)…

  • วิธีการตรวจสอบสามเส้า (triangulation)

    วิธีการตรวจสอบสามเส้า คืออะไร             จากผู้วิจัยหรืออาจารย์สอนในระดับ ป.โท ป.เอก มักอ้าง วิธีการตรวจสอบสามเส้า (triangulation) คำว่า “การตรวจสอบสามเส้า” ตลอดเวลา หลัก 3 ประการของการตรวจสอบคุณภาพงานวิจัย และใช้เฉพาะการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี้             Triangulation หมายถึง การเปรียบเทียบข้อค้นพบ (Finding) ของปรากฏการณ์ที่ทำการศึกษา (Phenomenon) จากแหล่งและมุมมองที่แตกต่างกัน นักวิจัยจำนวนมากคาดหมายว่า Triangulation เป็นแนวทางการยืนยันความน่าเชื่อถือ (Credibility, validity) ของข้อมูลหรือสิ่งที่ค้นพบ             ข้อเท็จจริง คือ การตรวจสอบสามเส้า (triangulation) เป็นการใช้ระเบียบวิธีการวิจัยหลายอย่างในการศึกษาปรากฏการณ์เดียวกัน ไม่จำเป็นต้องมีสามข้อ มีมากกว่านี้ก็ได้ เช่น ระเบียบวิธีวิจัย (research method triangulation), ทฤษฎี (theoretical triangulation), ผู้วิจัย (researcher triangulation), ข้อมูล (data triangulation)…