จากผู้วิจัยหรืออาจารย์สอนในระดับ ป.โท ป.เอก มักอ้าง วิธีการตรวจสอบสามเส้า (triangulation) คำว่า “การตรวจสอบสามเส้า” ตลอดเวลา หลัก 3 ประการของการตรวจสอบคุณภาพงานวิจัย และใช้เฉพาะการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี้
Triangulation หมายถึง การเปรียบเทียบข้อค้นพบ (Finding) ของปรากฏการณ์ที่ทำการศึกษา (Phenomenon) จากแหล่งและมุมมองที่แตกต่างกัน นักวิจัยจำนวนมากคาดหมายว่า Triangulation เป็นแนวทางการยืนยันความน่าเชื่อถือ (Credibility, validity) ของข้อมูลหรือสิ่งที่ค้นพบ
ข้อเท็จจริง คือ การตรวจสอบสามเส้า (triangulation) เป็นการใช้ระเบียบวิธีการวิจัยหลายอย่างในการศึกษาปรากฏการณ์เดียวกัน ไม่จำเป็นต้องมีสามข้อ มีมากกว่านี้ก็ได้ เช่น ระเบียบวิธีวิจัย (research method triangulation), ทฤษฎี (theoretical triangulation), ผู้วิจัย (researcher triangulation), ข้อมูล (data triangulation)
การตรวจสอบสามเส้า (triangulation) นำมาใช้ในการตรวจสอบคุณภาพงานวิจัยทั้ง การวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative research) และ การวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) ในการศึกษาเชิงปริมาณ (quantitative) เป็นการตรวจสอบความถูกต้อง (validation) การศึกษาเชิงคุณภาพเป็นการการหาคำตอบ เป็นกลยุทธการใช้วิธีการที่เหมาะสมเพื่อหาความน่าเชื่อถือ (credibility) ของการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ เป็น วิธีการทางเลือกของเกณฑ์พิจารณาปกติ เช่น ความเที่ยงตรง (reliability) และ ความถูกต้อง (validity)
การตรวจสอบสามเส้า (triangulation) ในการศึกษาเชิงคุณภาพ เป็นกระบวนการที่ถูกนำมาใช้ในการสังคมศาสตร์ ด้วย การรวบรวมวิธีการใช้ผู้สังเกต (observer) ทฤษฎี (theory) วิธีการ (methods) และ ข้อมูลเชิงประจักษ์ (empirical material) ที่ซ้ำซ้อนกัน นักวิจัยหวังว่า จะขจัดจุดด้อย หรือ ความลำเอียงภายในและปัญหาที่เกิดจากการใช้วิธีการอย่างเดียวและการใช้ทฤษฎีเดียวในการศึกษา
รูปแบบของ Triangulation มี 7 รูปแบบได้แก่
1. Data Triangulation การเปรียบเทียบและตรวจสอบความแน่นอนของข้อมูลโดยนำข้อมูลที่ได้มาเปรียบเทียบ
2. Multiple Investigator Triangulation การใช้นักวิจัยหลายคนในสนามแทนการใช้นักวิจัยเพียงคนเดียว
3. Multiple Analyst Triangulation การใช้ผู้วิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บจากสนามมากกว่า 2 คนขึ้นไป
4. Reviews Triangulation การให้บุคคลต่าง ๆ ที่ไม่ใช่นักวิจัยทำการทบทวนข้อค้นพบจากการวิเคราะห์
5. Methods Triangulation การเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้มาจากการเก็บข้อมูลหลายวิธีการ
6. Theory Triangulation การใช้มุมมองของทฤษฎีต่าง ๆ มาพิจารณาข้อมูลชุดเดียวกัน
7. Interdisciplinary Triangulation การใช้สหวิทยา การมาร่วมวาทกรรม อธิบายข้อค้นพบต่างๆ
Email: thesisonline99@gmail.com
ยินดีให้คำปรึกษาทุกท่านค่ะ คลิก : https://bit.ly/2WO7oAv
Facebook : https://www.facebook.com/iamthesis
บทความวิจัย แปลTH-EN #ปรึกษาวิทยานิพนธ์
เครื่องมือวิจัย เทคนิคสำหรับวิจัย งานวิจัย
การวิจัย วิจัย สนใจข้อมูลอื่น
รับปรึกษาวิทยานิพนธ์ งานวิจัย เครื่องมือวิจัย บทความวิจัย is proudly powered by WordPress