ความถูกต้อง Validity

ความถูกต้อง Validity ในงานวิจัย

Validity ประเภทของความถูกต้อง

            หรือ การวัดต้องมีความถูกต้องเป็นคุณสมบัติที่สำคัญประการหนึ่งของ เครื่องมือวิจัยกล่าวคือ เป็นเครื่องมือที่สามารถวัดได้ตรงกับที่ต้องการจะวัด การตรวจสอบความตรงทำได้หลายวิธี ดังนี้

1. ความถูกต้องเกี่ยวกับมาตรฐาน (Criterion–related validity)

เป็นความถูกต้องที่สอดคล้องกับความคิด/มาตรฐาน ที่เราใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน เป็นการประเมินความตรงตามเกณฑ์ที่ได้มาตรฐานการตรวจสอบที่มุ่งหาความสัมพันธ์ระหว่างค่าที่วัดได้จากเครื่องมือที่สร้าง กับค่าที่วัดได้จากเกณฑ์ ความสำคัญอยู่ที่เกณฑ์ที่ผู้วิจัยเลือกว่าถูกต้องตามหลักทฤษฎี ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปหรือไม่ เกณฑ์ที่เลือกใช้มี 2 ลักษณะ ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่ต้องการให้เครื่องมือนั้นวัดได้ตรงตามเกณฑ์ กล่าวคือ

1.2.1) ตรงตามสภาพ (Concurrent Validity) หมายถึง ลักษณะที่เครื่องมือวัดได้มีความตรงตามสภาพความเป็นจริงโดยทั่ว ๆ ไปในเวลานั้น

1.2.2) ความตรงตามทำนาย (Predictive Validity) หมายถึง ลักษณะที่เครื่องมือวัดได้มีความตรงตามความจริงที่จะเกิดขึ้นตามมาภายหลัง หรือในอนาคต ซึ่งสามารถทำนายได้

2. ความถูกต้องในเนื้อหา (Content validity)

ความครอบคลุมของมาตรวัด/เครื่องมือในเรื่องที่เป็นเนื้อหาของสิ่งที่ต้องการวัด ความสามารถในการวัดกลุ่มเนื้อหาที่ต้องการจะวัดได้ครอบคลุมและเป็นตัวแทนของสิ่งที่ต้องการวัด เช่น วัดความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ หรือการวัดทักษะด้านต่าง ๆ เป็นการมองโดยส่วนรวมว่าเครื่องมือหรือชุดของคำถามหรือแบบวัดนั้น  ครอบคลุมเนื้อหาที่จะวัดได้ถูกต้องครบถ้วนหรือไม่  เช่น   แบบประเมินคุณภาพของการพยาบาล ผู้วิจัยสร้างไว้จำนวน 30-40 ข้อ ย่อมต้องการการตรวจสอบว่า 30-40 ข้อนั้น เป็นตัวแทนของพฤติกรรมการพยาบาลทั้งหมดที่ต้องการประเมินแล้วหรือยัง การตรวจสอบต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาของเครื่องมือนั้น ๆ ในทางปฏิบัติต้องการผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ ครั้งละ 3-5 ท่าน ภายหลังการตรวจสอบผู้สร้างเครื่องมือจะนำข้อแนะนำที่ได้รับมาแก้ไขปรับปรุงจนกว่าจะได้รับการยอมรับจากผู้เชี่ยวชาญความเห็นพ้องต้องกันของผู้เชี่ยวชาญ แสดงถึงการมีความตรงตามเนื้อหาของเครื่องมือนั้น คิดเป็นร้อยละ 80

    ⇒ ต้องระบุเนื้อหาด้านต่าง ๆ ของสิ่งที่จะวัดให้สมบูรณ์

    ⇒ เลือกตัวแทนจากเนื้อหาขององค์ประกอบในด้านต่าง ๆ

    ⇒ นำตัวแทนของเนื้อหามาจัดระเบียบเป็นรูปแบบที่วัดได้

3. ความถูกต้องในตัวสร้าง (Construct validity)

เป็นมาตรวัด/เครื่องมือ ที่สร้างมาจากแนวคิด/ทฤษฎี/กฎเกณฑ์ต่าง ๆ เป็นการมองความตรงของเครื่องมือวิจัยในแง่ที่จะบอกว่าสิ่งที่ได้มาจากการวัดนั้นมีความตรงตามแนวคิดเชิงทฤษฎีอย่างไร ซึ่งเป็นการยากที่จะตรวจสอบเนื่องจากแนวคิดเชิงทฤษฎีนี้มักอยู่ในรูปนามธรรม ความตรงตามโครงสร้างมีความสำคัญในแง่ของการเชื่อมโยงระหว่างทฤษฎีและสิ่งที่วัดได้จริงจากการปฏิบัติ เช่น ในเรื่องสติปัญญา บุคลิกภาพ ความถนัด ฯลฯ เรื่องต่าง ๆ เหล่านี้มีโครงสร้างทางทฤษฎีอย่างไร เมื่อนำมาถ่ายทอดเป็นข้อความในเครื่องมือวิจัย องค์ประกอบและรายละเอียดต่าง ๆ ในเครื่องมือนั้นตรงตามทฤษฎีมากน้อยเพียงใด ถ้าวัดได้ครบถ้วนถือว่ามีความถูกต้องตามโครงสร้างการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างอาจใช้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญหรือใช้ Known group technique ขึ้นอยู่กับว่าวิธีใดจะเป็นไปได้

    ⇒ ระบุความสัมพันธ์เชิงทฤษฎี ระหว่างแนวคิด/ตัวแปรต่าง ๆ

    ⇒ ตีความหมายของความสัมพันธ์ที่พบ จัดทำมาตรวัด

การตรวจสอบความถูกต้องของเครื่องมือ/มาตรวัด

ใช้ Expert พิจารณา/ปรับปรุง (ตามสาขานั้น ๆ)

       ⇒ พิจารณาความสอดคล้องกันของ Expertise แล้วหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of item objective congruence)

            R =  คะแนนความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ (+1/0/-1)

            N =  จำนวน

       ⇒ I.O.C มากว่า หรือ เท่ากับ 0.5 แสดงว่า Valid/ใช้ได้

Email: thesisonline99@gmail.com
ยินดีให้คำปรึกษาทุกท่านค่ะ คลิก : https://m.me/iamthesis/
Facebook : https://www.facebook.com/iamthesis
Website: http://www.iamthesis.com/
ช่องทางในการติดตามความรู้จากเรา
#บทความ #แปล #ปรึกษาวิทยานิพนธ์
#เครื่องมือวิจัย #เทคนิคสำหรับวิจัย
#งานวิจัย #การวิจัย #วิจัย

 

จำนวนคนดู: 3,338