ความเชื่อถือได้ ( Reliability )

ความเชื่อถือได้ของมาตรวัด ( Reliability ) งานวิจัย

คือ ความสอดคล้องกันของผลที่ได้จากการวัดแต่ละครั้ง >> ความเชื่อถือ Reliability

  • โดยการวัดวิธีเดียวกันหลาย ๆ ครั้ง แล้ว นำผลการวัดมาหาความสัมพันธ์กันของความเชื่อถือ
  • ค่าของความสัมพันธ์ของการวัด คือ ค่าบ่งชี้อัตราความเชื่อถือได้

วิธีหาค่าความเชื่อถือได้ของมาตรวัด / เครื่องมือ

1. วิธีการทดสอบแล้วทดสอบซ้ำ (Test and retest method)

ความคงเส้นคงวาของคะแนนจากการวัดในช่วงเวลาที่ต่างกัน โดยวิธีสอบซ้ำด้วยแบบทดสอบเดิม การหาค่าความเชื่อมั่น : การทดสอบซ้ำใช้การคำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนที่วัดได้จากคนกลุ่มเดียวกัน ด้วยเครื่องมือเดียวกัน โดยทำการวัดสองครั้งในเวลาที่ต่างกัน

  • ใช้มาตรวัดเดียวกันกับคนกลุ่มเดียวกันในเวลาต่างกัน
  • ดูความสัมพันธ์ระหว่างผลการวัดทั้ง 2 ครั้ง
  • ถ้ามีความสัมพันธ์สูง แสดงว่า มีความเชื่อมั่นสูง

2. วิธีวัดแบบที่ทดสอบแทนกันได้ (Alternate forms method)

การทดสอบแบบใช้ข้อสอบเหมือนกัน Equivalent-Forms Reliability ความสอดคล้องกันของคะแนนจากการวัดในช่วงเวลาเดียวกันโดยใช้แบบทดสอบที่สมมูลกัน การหาค่าความเชื่อมั่น : การทดสอบแบบใช้ข้อสอบเหมือนกันใช้การคำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนที่วัดได้จากคนกลุ่มเดียวกันด้วยเครื่องมือ 2 ฉบับที่ทัดเทียมกัน

  • มีมาตรวัดคู่ขนานกัน 2 ชุด (parallel form)
  • นำไปวัดคนกลุ่มเดียวกัน
  • ดูความสัมพันธ์ของผลการวัดทั้ง 2 มาตรวัด

3. Split–halves method

            การทดสอบแบบการทดสอบแบบแบ่งครึ่ง (Split-Half Reliability ) เป็นการหาความเชื่อมั่นโดยการหาความคงที่ ภายในโดยใช้แบบทดสอบชุดเดียวและสอบครั้งเดียว แต่แบ่งข้อสอบเป็น 2 ส่วน คือ ข้อคู่ และข้อคี่
การหาค่าความเชื่อมั่น: การทดสอบแบบแบ่งครึ่ง ใช้การคำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ระหว่างคะแนนที่วัดได้จากการแบ่งครึ่งข้อสอบที่สมมูลกันโดยใช้สูตร Spearman Brown

  • วัดครั้งเดียว
  • แบ่งเครื่องมือเป็น 2 ส่วน
    • ส่วนบน/ส่วนล่าง
    • ข้อคู่/ข้อคี่

  • นำผลการวัดทั้งสองส่วนมาหาความสัมพันธ์กัน
  • ความยาวของมาตรวัดมีผลต่อความเชื่อถือ

4. การวัดความสอดคล้องภายใน

      วัดเพียงครั้งเดียว วิเคราะห์ค่า “ความสอดคล้องภายใน ” (ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อถือได้)

4.1 วิธี Kuder-Richardson (Zero/one Method)

การทดสอบโดยการหาความคงที่ภายใน Kuder-Richardson Reliability เป็นการหาความเชื่อมั่นโดยการทดสอบว่าแบบทดสอบหรือแบบสอบถามแต่ละข้อ มีความสัมพันธ์กับข้ออื่น ๆ ในฉบับเดียวกันหรือไม่ การหาค่าความเชื่อมั่น: การคำนวณค่าสถิติของคะแนนรายข้อ (ให้คะแนนแบบ 0-1) และคะแนนรวมใช้สูตร Kuder-Richardson (KR-20, KR-21)

  •  มาตรวัดทำถูกได้ 1  ทำผิดได้ 0
  •  KR – 20 / KR – 21

            4.2 วิธี Cronbach’s Alpha (Coefficient Alpha)

การทดสอบโดยวิธีหาสัมประสิทธิ์แอลฟ่า Alpha Coefficient Reliability เป็นการหาความเชื่อมั่นโดยการทดสอบว่า แบบสอบถามแต่ละข้อมีความสัมพันธ์กับข้ออื่น ๆ ในฉบับเดียวกันหรือไม่ (คะแนนตั้งแต่ 0-…) การหาค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถามทั้งฉบับ การคำนวณค่าสถิติของคะแนนรวมทั้งฉบับโดยใช้สูตรคำนวณสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient)

  ใช้หาความเชื่อมั่น Essay question

  หรือการให้คะแนนเป็น Scale

Validity / Reliability

  • ในการวัดสิ่งสำคัญที่สุดคือ Validity / ความตรง
  • มาตรวัดที่มีความตรงจะต้องมีความเชื่อถือได้ แต่ มาตรวัดที่มีความเชื่อถือได้อาจไม่มีความตรง
  • ค่าความเชื่อถือได้ (r) อยู่ระหว่าง -1 ถึง +1
    ⇒ ค่ายิ่งใกล้ +1 ยิ่งดี/ถ้าเกิน .75 ก็ OK แล้ว

Email: thesisonline99@gmail.com
ยินดีให้คำปรึกษาทุกท่านค่ะ คลิก : https://m.me/iamthesis/
Facebook : https://www.facebook.com/iamthesis
Website: http://www.iamthesis.com/
ช่องทางในการติดตามความรู้จากเรา

#บทความ #แปล #ปรึกษาวิทยานิพนธ์
#เครื่องมือวิจัย #เทคนิคสำหรับวิจัย #งานวิจัย
#การวิจัย #วิจัย

จำนวนคนดู: 13,939